Scene4-Internal Magazine of Arts and Culture www.scene4.com
The Vihara Wannee Mural | Janine Yasovant | Scene4 Magazine | June 2017 |  www.scene4.com

จานีน ยโสวันต

ดิฉันเคยเขียนเกี่ยวกับวิหาร วรรณีในวัดเจ็ดยอดที่เป็นหนึ่งในพระอารามหลวง
สำคัญในจังหวัดเชียงใหม่ ในตอนที่ดิฉันเป็นอาจารย์พิเศษให้กับนักศึกษาพระที่
เรียนวิชารัฐศาสตร์ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ในตอนนั้น
ดิฉันได้สัมภาษณ์อาจารย์และศิลปินท่านหนึ่งคืออาจารย์เกรียงไกร เมืองมูลที่ได้รับ
รางวัลจากการแข่งขันทางศิลปะ7 ปีซ้อนจากหลายๆ องค์กรที่สนับสนุนงานศิลปะใน
ประเทศไทย

Temple-24331

ในการพบกันครั้งล่าสุด ดิฉันได้รับคำเชิญจากอาจารย์เกรียงไกรมาอีกครั้งหนึ่งให้มา
พบกันที่วิหาร วรรณีเพื่อสอบถามเกี่ยวกับความก้าวหน้าของโครงการหลังจากเวลา
ผ่านไปแล้ว 16 ปี อาจารย์เกรียงไกรเคยกล่าวว่า วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 เป็น
วันแรกที่เขาเข้ามารับทำโครงการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังในวิหาร วรรณีแห่งนี้

เวลานี้ พ.ศ. 2560 ดิฉันรู้สึกกระตือรือร้นอยากวาดภาพอีกครั้งและอยากเห็นงาน
ศิลปะรูปแบบล้านนาที่กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ น่าจะเป็นโอกาสที่ดีสำหรับ
ดิฉันที่ได้แนวคิดในการปรับปรุงงานเขียนบทความ ของตนเองและได้ทราบเกี่ยวกับ
ความคิดเห็นของอาจารย์เกรียงไกรเกี่ยวกับผลงานในปัจจุบัน ด้วยรายระเอียดที่มาก
กว่าเดิม ในครั้งนี้ดิฉันถ่ายภาพแสดงความก้าวหน้าของภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วิหาร
วรรณี ในด้านความสวยงามแล้วดิฉันอยากกล่าวว่าภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดนี้มีความ
สวยงามเทียบได้กับวัดที่มีชื่อเสียงอีกหลายแห่ง

ต่อไปนี้เป็นบทสัมภาษณ์

จานีน: วันนี้เรามาพูดถึงความรู้สึกที่แท้จริงและงานภาพเขียนฝาผนังที่อาจารย์ได้ทำ
ในเชียงใหม่และจังหวัดอื่นๆ ในประเทศไทย

IMG20170511154659-cr

เกรียงไกร: เนื่องจากชื่อเสียงที่เพิ่มมากขึ้น ผมเลยมีงานและหน้าที่ความรับผิดชอบ
มากกว่าเดิม ผมยังรู้สึกสงสัยเกี่ยวกับจำนวนของคนที่รู้จักผมและผลงานของผม
ทำให้ผมรู้สึกเหนื่อยล้าและเบื่อหน่าย ถึงแม้ว่างานของผมจะมีมากมายแต่ผมก็ไม่ได้
รู้สึกดีเลยนะครับ ผมรับรองว่าเงินทองไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตเพราะผมพบว่า
เวลามีความสำคัญมากกว่า ผมปรารถนาว่าอยากจะกลับไปทำในสิ่งที่เป็นความฝัน
ดั้งเดิมแต่ตอนนี้ผมทำไม่ใด้แล้ว สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ผมรักและอยากที่จะทำมากที่สุด

IMG20170511154231-cr

จานีน: อาจารย์กล่าวกับดิฉันว่าสื่อมวลชนทำให้อาจารย์มีชื่อเสียงมากขึ้น บางที
ดิฉันอาจเป็นเหตุผลว่าทำไม อาจารย์ถูกรบกวนมากขึ้น ถ้าดิฉันติดตามและเผยแพร่
ผลงานของอาจารย์

เกรียงไกร: ผมก็ไม่ทราบจริงๆ ว่าทำไมแต่อาจารย์ไม่ได้เป็นเพียงเหตุผลเดียวที่ผม
ถูกรบกวน ชื่อเสียงที่มากมายสร้างปัญหาให้กับผม มีงานเข้ามามากขึ้น แต่มีเวลา
ให้กับการทำงานน้อยลง ผมไม่ค่อยสะดวกที่จะพบปะผู้คนตอนที่กำลังยุ่ง สิ่งที่ผม
ต้องการมากกว่าคือเวลาที่ใช้สร้างและขัดเกลาผลงานให้ดีและมีคุณภาพสูงสุด ทุก
วันนี้คนที่อยู่รอบตัวคาดหวังจะให้ให้ผมทำงานให้แต่ผมไม่มีเวลา วิหาร วรรณีหลังนี้
ยังเป็นโครงการระยะยาวของผมและทีมงาน เราต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ทำงานให้เสร็จ
สิ้น โชคร้ายที่สมาชิกในทีมงานคนหนึ่งเสียชีวิตโดยที่ผมไม่มีโอกาสได้กล่าวคำ
อำลาให้กับเขาเลย การตายของเขาทำให้ผมตระหนักได้ถึงบางสิ่ง

จานีน: สิ่งนั้นคืออะไรคะ

เกรียงไกร: ทำไมเราต้องรอนานกว่าจะถึงเวลาตายของเรา ถ้าเราตายเร็วบางที
อาจจะทำให้คน จดจำสิ่งดีๆที่เราได้ทำตลอดชีวิต เราเกิดมาและในไม่ช้าพวกเราทุก
คนต้องตายไปโดยที่ไม่มีข้อยกเว้น การตายเร็วนั้นเป็นสิ่งหนึ่งที่เราทุกคนควรคิดว่า
เป็นเรื่องธรรมดาที่ถูกกำหนดโดยธรรมชาติ

นี่เป็นไอเดียที่เขาอยากให้ดิฉันได้ลองคิดดู การพูดคุยกับศิลปินที่เป็นเพื่อนกัน
บางครั้งก็ทำให้ดิฉันได้พิจารณาเกี่ยวกับตนเองและโลก ความขัดแย้งและการ
โต้เถียงเล็กน้อยคงหลีกเลี่ยงไม่ได้แต่อย่างน้อยดิฉันก็พยายามเป็นผู้ฟังที่ดี

จานีน: โครงการนี้จะเสร็จสมบูรณ์เมื่อไหร่คะ ดิฉันอยากเขียนบทความของงาน
จิตรกรรมที่นี่แล้ว

IMG20170511154509-cr

เกรียงไกร: คงจะใช้เวลาอีกปีหนึ่งที่จะทำทุกอย่างให้เสร็จ16 ปีผ่านไปเร็วมาก ผม
ยังอยากวาดจิตรกรรมฝาผนังที่นี่ไปจนกว่าจะเสร็จสมบูรณ์

จานีน: ดิฉันจำได้ว่าสีเดิมคือสีเหลืองกับสีม่วงแต่ตอนนี้ทำไมกลายเป็นสีเหลืองกับสี
เขียว แต่ไม่ว่าจะเป็นสีอะไรดิฉันก็ชอบ รูปคนที่อยู่ในงานจิตรกรรมฝาผนังก็ยังคงเป็น
ชาวล้านนาเหมือนเดิม

IMG20170511153050-cr

เกรียงไกร: ผมได้ปรับสีให้มีความเหมาะสมมากกว่าเดิม ผมเพิ่มคนเข้าไปในภาพ
มากขึ้นโดยเฉพาะพระบรมสาทิสลักษณ์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล
อดุลยเดช อาจารย์ ตามผมมาถ่ายภาพเพิ่มเติมได้ครับ

อาจารย์เกรียงไกรพาดิฉันเข้าไปดูภาพในตัววิหารและคอยบอกดิฉันว่าจะถ่ายรูป
ตรงไหนได้บ้าง

จานีน: ดิฉันขอบคุณมากที่ได้เพิ่มเติมรูปภาพพระราชาที่เป็นที่รักของเราในหลายๆ
จุดภายในภาพจิตรกรรมฝาผนัง เป็นวีธีที่ดีในการระลึกถึงพระกรุณาธิคุณของ
พระองค์ที่มีต่อประชาชนชาวไทย ดิฉันได้เห็นว่าภาพจิตรกรรมฝาผนังทั้งหมดมี
รายละเอียดมากกว่าเดิมและสามารถเปลี่ยนไปตามการพิจารณาของอาจารย์ หลายปี
ที่ผ่านมาผู้คนก็มาที่นี่เพื่อมาชมภาพจิตรกรรมฝาผนังและการตกแต่งภายในอาคาร
อาจารย์ก็ยังมาเพิ่มเติมลายละเอียดลงในภาพจิตรกรรมฝาผนัง

IMG20170511154116cr

เกรียงไกร: ผมมีคำถามจะถามอาจารย์อยู่ข้อหนึ่ง ทำไมอาจารย์ อยากวาดรูป

อาจารย์เกรียงไกรเห็นดิฉันถือเฟรมวาดรูปผ้าใบและสีจำนวนหนึ่งเลยถามขึ้นมา

จานีน: ดิฉันอยากวาดรูปและอยากถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการฝึกฝนทำงานศิลปะ
ดิฉันไม่ว่าทราบจะทำอย่างไรที่จะทำให้รูปนี้เสร็จสมบูรณ์ ดิฉันไม่แน่ใจเกี่ยวกับเรื่อง
ความสุขและทุกข์เมื่อได้วาดภาพ  ภาพถ่ายต้นฉบับเป็นรูปงานประเพณีสงกรานต์
จังหวัดเชียงใหม่โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ส่วนตัวแล้วดิฉันคิดว่ามันยากที่
จะเพิ่มรายละเอียดลงในภาพวาดเพราะว่ามีกิจกรรมมากมายอยู่ในนั้น อาจารย์ มี
ความเห็นว่าอย่างไรบ้างคะ

เกรียงไกร: ขอพูดตามตรงนะครับ ที่อาจารย์ตัดสินใจวาดในรูปแบบที่ต่างออกไป
จากงานของผมที่เป็นแนวคิดไทยแบบดั้งเดิม ดูที่ภาพของอาจารย์แล้วผมเห็น
ผู้หญิงสวมเครื่องแต่งกายแบบพม่าแทนที่จะเป็นแบบล้านนาไทย น่าจะกล่าวได้ว่า
รูปแบบภาพวาดเป็นแบบศิลปะพื้นบ้าน ไม่ได้เป็นแบบพื้นเมืองไทยจริงๆ ผมอยากชี้
ให้อาจารย์เห็นว่า อาจารย์ยังไม่มีความรู้ และไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะวาดรูปโดยใช้
แนวคิดไทยพื้นเมืองแบบดั้งเดิม แต่ที่ทำก็ดีอยู่แล้วนะครับ ไม่จำเป็นที่จะต้อง
เพิ่มเติมรายละเอียดให้มากเกินไป

สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับอาจารย์ ก็คือให้ วาดอะไรสักอย่างออกมาจากสิ่งที่ มองเห็น
อาจเริ่มต้นด้วยการสเก็ตภาพด้วยดินสอก่อน เนื่องจากว่าอาจารย์ไม่ได้เป็นศิลปินที่
เรียนศิลปะในสถาบันที่สอนศิลปะ จึงไม่เป็นไรที่จะฝึกฝนโดยการคัดลอกภาพถ่ายที่
ชอบ ถ้าเขียนภาพแล้วมองเห็นไม่ค่อยชัดเจน อาจารย์ต้องคิดต่อไปอีกว่าจะแก้
ปัญหาอย่างไร สำหรับเรื่องสี เป็นการตัดสินใจของเราเองที่จะเลือกว่าอะไรคือสีที่ดี
ที่สุดสำหรับภาพเขียน  ให้จำไว้ว่าอะไรก็ตามในภาพวาดสามารถเปลี่ยนแปลงได้
หมดตามแต่จินตนาการของเราเอง ไม่จำเป็นจะต้องคัดลอกภาพมาทั้งหมดเพราะมัน
ไม่มีประโยชน์และไม่จำเป็นแม้กระทั่งในการฝึกฝน สำหรับเรื่องเส้นต่างๆ แสงและ
เงา เราสามารถคัดลอกงานออกมาจากภาพถ่ายได้ถ้า ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี สำหรับ
เรื่องสิ่งปลูกสร้าง ภาพเขียนสมัยใหม่จะใส่ใจกับความสมจริงในมุมมองแบบ
เปอร์สเปคทีฟ ส่วนภาพเขียนแบบดั้งเดิมจะไม่สนใจในเรื่องนี้ นี่เป็นความแตกต่างที่
ต้องนึกเอาไว้ในใจ

จานีน: ขอบคุณมากนะคะ ดิฉันรู้สึกมีความสุขมากที่ได้พบอาจารย์และขอขอบคุณที่
ให้คำแนะนำหลายๆ อย่าง ดิฉันหวังว่าอาจารย์จะได้รับการสนับสนุนในการทำงาน
ศิลปะต่อไป เมื่อลองมองดูภาพที่ตัวเองวาดขึ้นมา ถึง มันไม่ใช่ความสุขแต่ดิฉันพบ
สิ่งอื่นที่อยากทำนอกเหนือไปจากการเขียนหนังสือ ในตอนที่กำลังทำงาน ดิฉันคอย
ถามตัวเองว่าอะไรคือวิธีแก้ไขปัญหาที่พบเจออยู่ในปัจจุบัน ดิฉันพยายามตั้งสติด้วย
ตัวเองอยู่กับรูปภาพที่อยู่เบื้องหน้าและพยายามหาวีธีที่ดีกว่าในการแก้ปัญหาเหล่านี้
ดิฉันเห็นด้วยที่ว่า เวลานั้นมีค่า

เกรียงไกร: ผมบอกอาจารย์ ไปหลายครั้งว่าผมไม่สนับสนุนให้ลูกเป็นศิลปินเหมือน
ผม ผมถามลูกด้วยคำถามเดียวกันกับอาจารย์ ที่ว่า ทำไมถึงอยากวาดรูป

จานีน: ดิฉันได้ยินมาว่าลูกสาวคนเล็ก ของอาจารย์เรียนอยู่ ในคณะวิจิตรศิลป์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อาจารย์เกรียงไกรเงียบไปสามวินาทีแล้วจึงกล่าวว่า

เกรียงไกร: ลูกสาวผมไม่จำเป็นต้องวาดรูปครับ เธอเรียนศิลปะสมัยใหม่ ผมไม่คิดว่า
เธอจะชอบวาดรูปมากนักหรอก

*

นี่คือบทสนทนาแบบไม่จริงจังระหว่างดิฉัน ที่เรียกตัวเองว่านักเขียน และศิลปิน
มีอีกหลายอย่างที่เป็นเหมือนระเบิดลูกใหญ่อยู่เบื้องหน้าเรา
ที่พร้อมจะระเบิดในอีกไม่ช้า...

กรุณาลงความเห็น เกี่ยวกับบทความนี้

Scene4 Magazine: Janine Yasovant

ส่ง
อีเมล์
หน้านี้

จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย
สำหรับบทความและบทวิจารณ์อื่นๆ ของ จานีน ยโสวันต์
กรุณาตรวจดู แฟ้มเก็บข้อมูล

Click Here for this article in English

©2017 Janine Yasovant
©2017 Publication Scene4 Magazine

 

 

inFocus and Trending in This Issue

City Spires and Masts

Photo7-ShadowDance-crs-200

Paterson

paterson-2-cr.-200jpg

Postcards from New York

Scene-3-crs-200
Sc4-solo--logo62h

June 2017

Volume 18 Issue 1

SECTIONS:: Cover | This Issue | inView | inFocus | inSight | Perspectives | Special Issues | Blogs COLUMNS:: Bettencourt | Meiselman | Thomas | Jones | Marcott | Walsh | Alenier :::::::::: INFORMATION:: Masthead | Subscribe | Submissions | Recent Issues | Your Support | Links CONNECTIONS:: Contact Us | Contacts&Links | Comments | Advertising | Privacy | Terms | Archives

Search This Issue

|

Search The Archives

|

Share:

Email

fb  


Scene4 (ISSN 1932-3603), published monthly by Scene4 Magazine–International Magazine of Arts and Culture. Copyright © 2000-2017 Aviar-Dka Ltd – Aviar Media Llc. All rights reserved. Now in our 18th year of publication with Worldwide Readership in 127 countries and comprehensive archives of over 11,000 web pages (66,000 print pages).
 

Scientific American - www.scene4.com
Calibre Ebook Management - www.scene4.com
Penguin Books-USA www.scene4.com
Thai Airways at Scene4 Magazine