Scene4 Magazine — International Magazine of Arts and Media

อินไซท์

august 2007

nu01cr-thai

จานีน ยโสวันต์

ในท่ามกลางศิลปินที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย วิสูตร เจริญพร นั้นถือว่าเป็นขุมทรัพย์ ลุงใหญ่
เป็นนามปากกาของนักเขียนรูป นักเขียน และนักดนตรีท่านนี้ ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับ
ธรรมชาติเป็นแรงบันดาลใจให้เขาเขียนภาพทิวทัศน์ต่างจังหวัดหลายแห่ง สะท้อนให้เห็นความ
จริงของธรรมชาติ อารมณ์ และจิตวิญญาณ เขายังเคยเป็นคอลัมน์นิสต์ให้กับไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์ที่เก่าแก่และขายดีที่สุดในประเทศไทย คอลัมน์ของเขาใช้ชื่อว่า "ศิลปะคืออะไร"

นิทรรศการผลงานเดี่ยวครั้งที่ 1 ภาพทิวทัศน์ ธันวาคม 2539

งานนิทรรศการถูกจัดขึ้นเมื่อปลายปี 2539 ที่ศูนย์ส่งเสริมการส่งออกภาคเหนือ รูปภาพทิวทัศน์
จำนวน 120 รูปถูกจำหน่ายหมดก่อนที่นิทรรศการจะเริ่ม ผู้เยี่ยมชมชาวต่างชาติท่านหนึ่งเขียนไว้
ในสมุดเยี่ยมชมว่างานนิทรรศการนั้นดีเยี่ยมแต่ไม่มีภาพเขียนเหลือให้เขาชื่นชมและเป็นเจ้าของ
มีผู้เยี่ยมชมกว่า 3000 คน ถือเป็นงานที่ใหญ่สำหรับเมืองเล็กๆอย่างเชียงใหม่ หลายคนมี
ภาพเขียนของวิสูตรมากกว่า 1 ภาพ ทุกคนพูดว่ารักงานเขียนภาพของคุณวิสูตรเพราะเขา
สามารถเก็บความงามของเชียงใหม่ได้ในทุกมุมมองและทักษะในการใช้แปรงบนผืนผ้าใบของ
เขานั้นกล่าวได้ว่าดีเยี่ยม

นิทรรศการผลงานเดี่ยวครั้งที่ 2 ภาพนู้ด พฤษภาคม 2546

ผู้เยี่ยมชมงานนิทรรศการรู้สึกประหลาดใจเพราะนิทรรศการภาพนู้ดนั้นยากที่จะเกิดขึ้นใน
ประเทศไทย ภาพเขียนนู้ดมากกว่า 100 ภาพนั้นมีอิธิพลกับผู้คน ผู้เยี่ยมหลายพันเข้าไป และ
ออกมาจากงานนิทรรศการด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มและอารมณ์ต่างๆ กัน พวกเขามาที่หอ
นิทรรศการด้วยความเขินอายและออกมาพร้อมกับความพึงพอใจ ความรู้สึกนี้เองเป็นหัวข้อหลัก
ของนักเขียนภาพท่านนี้ ผู้เยี่ยมชมหลายคนยังกลับมาดูงานนิทรรศการอีกหลายครั้ง

nu03cr

ดิฉันได้เชิญคุณวิสูตร เจริญพรมาที่บ้าน และได้ฝึกซ้อมเรื่องการเขียนภาพกับเขาและพูดคุยเรื่อง
ศิลปะในประเทศไทยเป็นการนำเสนอการฉลองเชียงใหม่ครบรอบ 700 ปี ดิฉันส่งงานให้เขาดู
ให้เขาวิจารณ์ งานของนักเรียนจะต้องเปิดกว้างและมีอิสระ ดิฉันแน่ใจว่าจะขอร้องให้เขามา
สัมภาษณ์พิเศษ

คุณวิสูตรไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์ เขาไม่ทราบว่าดิฉันเขียนเรื่องศิลปะในประเทศไทย เขาไม่สนใจ
ว่าบทความจะมีหน้าตาเป็นอย่างไรและไม่สนใจเรื่องธุรกิจและการค้า บ้านของเขา ห้องซ้อม
ดนตรี ห้องทำงานอยู่ห่างจากตัวเมือง 40 กิโลเมตร การสัมภาษณ์เกี่ยวกับงานศิลปะเป็นส่วนที่
สำคัญส่วนหนึ่งในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พูดคุยเกี่ยวกับชีวิต อาหารและการวาดรูป เขา
เคยรับประทานอาหารตะวันตกและหันมารักษาตนเองด้วยอาหารแมโครไบโอติกแทน ร่างกาย
ของเขากลับมาเป็นปกติและเขาก็ออกกำลังกายอีกด้วย

ดิฉันถามคุณวิสูตรว่า"'งานที่ภาคภูมิใจที่สุดในชีวิตของคุณคืออะไร"

เขาหยุดไปสักพักหนึ่งแล้วตอบว่า"ผมรู้สึกภูมิใจกับงานทุกชิ้น ขอเริ่มด้วยงานที่ได้รับมอบหมาย
ที่มีเกียรติมากที่สุดที่ผมเขียนไว้เมื่อ 20 ปีก่อน เป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของในหลวง
รัชกาลที่ 5 6 7 9 พระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ และตราพระปรมาภิไธย ภาพเหล่านี้อยู่
ในพระที่นั่งอนันตสมาคม  และภาพดอกบัวที่ผมมอบให้ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรเมื่อห้าปีที่แล้ว
เป็นภาพดอกบัวสีขาวในบึงใหญ่"

ดิฉันถามเขาต่อไปว่า"ดิฉันทราบว่าคุณและครอบครัวย้ายจากทางใต้ขึ้นมาทางเหนือ แต่ทำไม
ผลงานหลายๆชิ้นเป็นวิวทิวทัศน์ของเชียงใหม่"

เขากล่าวว่า"สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผมอยากทำ ผมเคยสงสัยเกี่ยวกับตนเอง วันหนึ่งผมลืมตาขึ้นมา
รู้สึกประหลาดใจว่าผมได้สร้างภาพเขียนเป็นร้อยภาพในเวลาสั้นๆ"

ดิฉันได้ถามเขาเกี่ยวกับนิทรรศการภาพนู้ดในปี 2546 "นิทรรศการภาพนู้ดของคุณประสบ
ความสำเร็จมาก มีนักเขียนภาพนู้ดในประเทศไทยที่เขียนภาพเป็นร้อยภาพแล้วจัดนิทรรศการ
อย่างคุณหรือเปล่า"

เขาตอบว่า"เท่าที่ผมทราบมา การวาดภาพนู้ดเป็นความฝันของศิลปินทุกคน นู้ดเป็นหนึ่งใน
ความงามสูงสุด ในความคิดเห็นของผม นู้ดไม่ใช่สิ่งลามกอนาจาร การเขียนภาพนู้ดไม่ใช่เรื่อง
ง่าย เป็นเรื่องที่ค่อนข้างอันตรายที่เดียว การวาดภาพวิวทิวทัศน์สามารถแก้ไขได้ง่ายกว่า การ
ปรับเปลี่ยนหรือความผิดพลาดเล็กน้อยก็เป็นที่ยอมรับได้ แต่ภาพนู้ดไม่สามารถผิดพลาดได้เลย
ความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยจะทำให้รูปภาพเสียหาย การจัดท่าทางที่ไม่เหมาะสมในภาพนู้ดนั้น
บิดเบือนภาพลักษณ์และสร้างความสับสนให้กับผู้ชม ถ้านักวาดภาพปล่อยให้อารมณ์ความรู้สึก
ครอบงำแล้ว ก็เป็นการสะท้อนให้เห็นการผิดศีลธรรมและความรู้สึกที่ไม่ดี นักวาดภาพคนนั้นจะ
สูญเสียชื่อเสียงและการยอมรับนับถือไป กระจกใช้ส่องหน้า แต่ศิลปะใช้ส่องดูความรู้สึกและจิต
วิญญาณของศิลปิน"

nu04cr

ดิฉันถามเขาอีกว่า"ดิฉันเห็นภาพเขียนของคุณและคิดว่าภาพที่สวยงามมาจากนางแบบสาวสวย
ถูกต้องหรือเปล่าคะ"

เขาส่ายหัวแล้วพูดว่า"ไม่เสมอไปครับ ยังมีรายละเอียดอื่นๆภายในรูปวาดที่สวยงาม มันคื่อความ
น่าประทับใจ เป็นศิลปะที่แท้ ไม่ใช่การลอกเลียน มันคือนามธรรมที่มีความหมายจับต้องได้"

n01cr

ดิฉันถามเขาว่า"แล้วนักวาดรูปนู้ดท่านอื่นๆ ที่คุณรู้จักเป็นอย่างไรบ้าง"

เขาตอบว่า"มีศิลปินวาดภาพนู้ดหลายท่านที่จัดงานนิทรรศการแบบเป็นกลุ่มศิลปิน แต่ผมเป็น
คนเดียวที่จัดงานที่จัดงานภาพนู้ดแบบเดี่ยว ตอนแรกผมมีนิทรรศการที่เชียงใหม่ กรุงเทพ และ
พัทยา มีคำถามว่า มีข้อจำกัดใดๆในประเพณี และวัฒนธรรมหรือไม่ ในประเทศไทย ผู้คนจำนวน
ไม่มากเข้าใจลักษณะสำคัญของภาพนู้ด ส่วนใหญ่จะคิดว่าภาพนู้ดเป็นภาพลามกอนาจาร"

ดิฉันถามเขาว่า"แล้วงานนิทรรศการเป็นอย่างไรบ้างคะ"

เขากล่าวว่า"ก่อนที่ผู้เยี่ยมชมจะเข้ามาในงาน พวกเขาอยากทราบว่างานนิทรรศการนี้เกี่ยวกับ
อะไร ผมอยากให้ผู้รักงานศิลปะเข้าใจก่อนว่า อันดับแรกศิลปะต้องสร้างมาจากจิตใจที่บริสุทธิ์
อิสระในการสร้างสรรค์ และพื้นฐานที่สำคัญที่สุดคือความสุขในการทำงาน ถ้าผมอยากเขียนรูป
ผมก็เขียนจนมากพอที่จะเปิดนิทรรศการ"

ดิฉันถามเขาว่า"20 ปีที่ผ่านมา งานศิลปะในประเทศไทยเป็นอย่างไรบ้าง"

เขาตอบว่า"ศิลปินไทยปรับตัวเองให้เข้ากับงาน ศิลปินหลายกลุ่มมีแนวคิดในงานศิลปะต่างๆ
กันและคิดว่าสิ่งที่ทำมีคุณค่า ในความเห็นของผม ศิลปินไทยมีความน่านับถือ บางคนมี
พัฒนาการที่ดีมาก บางคนหลงไปในทางที่ผิดจนน่าเสียดายมาก โดยทั่วไปแล้วยากที่จะหา
ผู้สนับสนุน"

ดิฉันถามว่า"ศิลปินมีค่าใช้จ่าย การลงทุนในการทำงาน แล้วพวกเขาจะอยู่อย่างไรถ้าไม่มีเงิน"

เขากล่าวว่า"กรอบการทำงาน ค่านิยม การแข่งขันทางธุรกิจทำลายความสุขที่แท้จริง ผมไม่เคย
ส่งผลงานไปแข่งขัน ภาพเขียนของผมมีราคาแพง ทั้งหมดถูกจับจองในห้องแสดงภาพที่
กรุงเทพ ครั้งหนึ่งพวกเขาจ่ายค่าภาพเป็นรถยนต์สามคัน ผมปฏิเสธไปและร้องขอเงินสด ผม
ไม่ใช่คนขายรถยนต์ แต่ครั้งหนึ่งผมไปตลาด บางคนถามผมว่าคุณขายอะไร ผมตอบว่าผมเป็น
พ่อค้าขายหมู(หัวเราะ)"

ดิฉันถามเขาว่า"แล้วลูกศิษย์ของคุณเป็นอย่างไรบ้าง"

เขาตอบว่า"พวกเขาก็เหมือนคุณ ถ้าคุณสนใจการวาดภาพก็วาดแล้วส่งงานมาให้ผมดู ผมจะ
ประเมินงานและให้คำแนะนำ คุณต้องคิดงานด้วยตัวเองไม่ต้องไปลอกคนอื่นๆ คุณอาจจะเห็น
งานที่ชอบแต่คุณต้องใช้จินตนาการสร้างขึ้นมาด้วยตนเอง เป็นอิสระจากข้อจำกัดเดิมๆ"

ดิฉันถามเขาว่า"คุณเคยลองวาดรูปนู้ดผู้ชายหรือเปล่า"

เขากล่าวว่า"ไม่เคยครับ ผมไม่เคยวาดรูปนู้ดผู้ชายเพราะคิดว่าคงไม่สวยเท่ารูปนู้ดผู้หญิง"

n02cr

ดิฉันถามเขาว่า"แล้วงานนิทรรศการครั้งต่อไปจะจัดขึ้นอีกเมื่อไหร่คะ"

เขาตอบมาว่า"ผมวาดรูปทุกวัน หลายคนมาสมัครเป็นนางแบบ ผมมีความสุขที่ได้เขียนรูปมาก
และดูแลนักเรียนที่ต้องการเรียนสีน้ำมันด้วยความรักและกระตือรือร้น สีน้ำมันสร้างจินตนาการได้
อย่างไม่มีที่สิ้นสุด งานนิทรรศการจะเกิดขึ้นเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม"

Visoot-cr

กรุณาลงความเห็น เกี่ยวกับบทความนี้

©2007 Janine Yasovant
©2007 Publication Scene4 Magazine

janine-aaa2smallcr2
จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย

สำหรับบทความและบทวิจารณ์อื่นๆ ของ จานีน ยโสวันต์
กรุณาตรวจดู แฟ้มเก็บข้อมูล

 

Scene4 Magazine-International Magazine of Arts and Media

august 2007

Cover | This Issue | inFocus | inView | reView | inSight | inPrint | Blogs | Links | Masthead Submissions | Advertising | Special Issues | Subscribe | Privacy | Terms | Contact | Archives

Search This Issue Email This Page

Scene4 (ISSN 1932-3603), published monthly by Scene4 Magazine - International Magazine of Arts and Media. Copyright © 2000-2007 AVIAR-DKA Ltd - Aviar Media LLC. All rights reserved.