www.scene4.com
Pinit Phantaprawat | interview with Janine Yasovant | Scene4 Magazine - January 2022 www.scene4.com

พินิตย์ พันธประวัติ
จากผู้สร้างสรรค์งานศิลปะบนธนบัตร สู่ ศิลปินอิสระ

  จานีน ยโสวันต์

ต่เดิมธนบัตรของไทยเป็นธนบัตรที่พิมพ์จากต่างประเทศทั้งหมด มีการ
ขาดแคลนธนบัตรอย่างรุนแรงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง จากนั้นรัฐบาลจึงได้
ก่อตั้ง โรงพิมพ์ธนบัตรขึ้นในปี พ.ศ. 2512 นำเสนอเอกลักษณ์ความเป็นไทยมาก
ขึ้น ธนบัตรที่ออกจำหน่ายในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา ได้เปลื่ยนภาพทั้งด้านหน้าและ
ด้านหลัง ธนบัตรเหล่านี้เป็นตัวแทนของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มาพร้อม
ด้วย ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เจตคติ ความเชื่อ และศิลปะ ซึ่งล้วนมีความสำคัญ
อย่างยิ่ง พินิตย์ พันธประวัติ เป็นศิลปินที่ต่อยอดงานเขากล่าวว่า ผมมีโอกาสได้
ทำงานที่โรง พิมพ์ธนบัตร งานที่ทำในด้านการออกแบบธนบัตรและการแกะสลัก
แม่พิมพ์ที่ใช้ใน การพิมพ์ธนบัตรนั้นมาจากความรักและความมุ่งมั่นในการทำงานที่
สำคัญในการผลิต ธนบัตรเพื่อคนไทย

jyphoto1-cr

ต่อไปนี้คือบทสัมภาษณ์ ของดิฉันกับคุณพินิตย์ พันธประวัติ

JY. กรุณาเล่าถึงรูปแบบเกี่ยวกับสไตล์ศิลปะของคุณที่ได้ทำมา

PP. ผมเกิดในครอบครัวชาวจีนที่จังหวัดนราธิวาส บิดามารดาได้อพยพมาจาก
ประเทศจีนเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา
ภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ตั้งแต่ผมยังเด็ก ผมจำได้ว่าพ่อแม่
ของ ผมมักสอนจะสอนลูกๆของท่านเสมอว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระองค์ท่าน ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เปี่ยมล้นด้วยคุณธรรม ทรงเสียสละพระ
วรกายออกเยี่ยมเยืยนและช่วยเหลือพสกนิกรชาวไทยในแหล่งทุรกันดาร สิ่ง
เหล่านี้ได้ซึมซับเข้าไปในจิตใจของผม ตอนเด็กๆผมมักวาดรูปพระองค์ท่านโดย
นำภาพพระองค์ท่านมาเป็นแบบอย่าง ผมชอบวาดรูป และรักในศิลปะมาก และ
เมื่อจบระดับมัธยมต้นก็เป็นโอกาสที่ดีที่ผมได้เข้ามาศึกษาต่อด้านศิลปะที่วิทยาลัย
อาชีวศึกษา ธนบุรีและวิทยาลัยเพาะช่างตามลำดับจนสำเร็จการศึกษา ขณะศึกษา
อยู่ที่วิทยาลัยเพาะช่าง
ผมได้เข้ารับการบรรจุเป็นพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2522-
2558 ในระหว่างที่ทำงานอยู่ในโรงพิมพ์ธนบัตร ผมได้ทำงานด้านการออกแบบ
และแกะสลักแม่พิมพ์ ที่นำไปพิมพ์ธนบัตร ทำให้ผมมีประสบการณ์และความ
ชำนาญด้านดังกล่าว

jyphoto2

JY. กรุณาเล่าเกี่ยวกับความสนใจส่วนตัวของคุณในด้านศิลปะ การเรียน และการ
ทำงานในโรงพิมพ์ธนบัตรมาเกือบ 40 ปี

jyphoto3

PP. การพิมพ์ธนบัตรไทย แต่เดิมเราว่าจ้างผลิตโดยโรงพิมพ์จากต่างประเทศ จน
กระทั่งเมื่อรัฐบาลไทยมีนโยบายในการจัดให้มีโรงพิมพ์ขึ้นในประเทศ จนกระทั่ง
ใน ปี พศ.2504 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ธนาคารแห่งประเทศไทย จัดตั้งโรงพิมพ์
ธนบัตร ขึ้น มีการเตรียมการจัดตั้งโรงพิมพ์ธนบัตรขึ้นอย่างจริงจังโดยเริ่มต้นตั้งแต่
การจัดหา ที่ดิน เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์ในการพิมพ์และส่งพนักงานไปศึกษาเรียนรู้
ศาสตร์การแกะ สลักแม่พิมพ์และการพิมพ์ธนบัตรในต่างประเทศ เมื่อพร้อมทุก
อย่างแล้ว จึงได้กราบ บังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
เสด็จพระราชดำเนินมาทรง ทำพิธีเปิดโรงพิมพ์ธนบัตร เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พศ.
2512 และเริ่มลงมือพิมพ์ธนบัตรแบบสิบเอ็ด จึงนับว่าเป็นธนบัตรแบบแรกที่พิมพ์
จากโรงพิมพ์ธนบัตรในประเทศไทย

jyphoto9

ในด้านการทำงานของผมนั้น ผมสอบบรรจุเข้าทำงานในโรงพิมพ์บัตร
ธนาคารแห่ง ประเทศไทย ตั้งแต่ปี พศ.2522 ในตำแหน่งพนักงานฝึกแกะโลหะ
ด้วยมือ นับว่าเป็น ช่างแกะแม่พิมพ์ธนบัตรรุ่นที่ 2 ผมเรียนรู้การแกะโลหะขั้น
พื้นฐานกับอาจารย์ 2 ท่าน ในโรงพิมพ์ธนบัตร งานนี้ต้องใช้การเรียนรู้ ฝึกฝน
ค่อนข้างยาวนานมาก ทางธนาคารจะมีการประเมินผลงานเราทุกๆ 2 ปี ว่าผ่าน
เกณฑ์หรือไม่ เมื่อผ่านแล้วจะได้รับการฝึกฝนในระดับสูงต่อไป จนกระทั่งเป็นที่
พอใจและเพื่อให้พนักงานแกะสลัก โลหะมีความชำนาญมากยิ่งขึ้น ทางธนาคาร
แห่งประเทศไทยจึงส่งผมไปศึกษา ฝึก ปฎิบัติและดูงานในต่างประเทศอาทิ ญี่ปุ่น
เบลเยี่ยม เยอรมัน ออสเตรียและฮังการี เพื่อเรียนรู้วิธีการแกะโลหะของประเทศ
เหล่านั้น ทำให้เราได้เห็นเทคนิคอื่นๆที่เรายัง ไม่รู้มาประยุกต์ใช้กับงานของเราได้

การแกะภาพพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ในหลวง รัชกาลที่ 9 เพื่อนำไปใช้
บนธนบัตร ทำให้ผมเริ่มซึมซับพระอัจฉริยภาพของพระองค์ท่านเข้ามาโดยไม่รู้ตัว
จากศรัทธาที่มี อยู่แล้ว ก็ศรัทธาเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ทุกผลงานต้องนำขึ้นทูลเกล้า
ถวายเพื่อให้ทรงมี พระราชวินิจฉัยโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก่อนนำมา
พิมพ์เผยแพร่ ทำให้ผม รู้สึกรักในงานที่ทำและเมื่องานธนบัตรที่เราได้ทำนำออกสู่
สาธารณชน ผมก็ยิ่งมีความ ภาคภูมิใจ ตลอดเวลา 36 ปี ที่ทำงานในธนาคารแห่ง
ประเทศไทย ผมมีความรู้สึกว่า ผมได้อยู่กับพระองค์ท่านมาตลอด

jyphoto5

JY. ช่วยเล่าถึงแรงบันดาลใจของคุณในการนำวิธีการผลิตธนบัตรในประเทศไทย
มาสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของคุณเอง ในระหว่างทำงานประจำที่โรงพิมพ์ธนบัตร

PP. ผมเริ่มมีเป้าหมายในชีวิตว่า เมื่อผมเกษียณจากงานประจำแล้ว ผมจะมีงาน
ศิลปะที่จัดแสดงเป็นงานของเราเอง ดังนั้นผม จึงใช้เวลาในวันหยุดและช่วง
กลางคืนในการสร้างสรรค์ผลงานขึ้น ซึ่งการทำแบบนี้ เป็นผลดีต่อทั้ง 2 ด้าน ด้าน
หนึ่งคือผมสามารถทำความฝันให้เป็นความจริงได้และ ทำให้เราได้ฝึกฝนทักษะ
ฝีมือของเรามากขึ้น เราทุ่มเททำด้วยความมานะ วิริยะ อุตสาหะ ทำให้ฝีมือก็ยิ่ง
พัฒนา ส่วนด้านที่สองก็เป็นประโยชน์กับงานประจำที่เราทำ ในโรงพิมพ์ธนบัตร
เนื่องจากเราได้นำทักษะที่เราฝึกฝนนี้ไปใช้ในการทำงานประจำ ของเราด้วย 

จวบจนกระทั่งปี พศ.2558ขณะนั้นผมมีอายุได้ 57 ปี นับเป็นช่วงเวลาที่ผม
พร้อมแล้ว ไม่มีภาระอะไรในชีวิต ผมจึงตัดสินใจเกษียณอายุการทำงานก่อน
กำหนดจากโรง พิมพ์ธนบัตร เพื่อทำตามความฝันที่ตั้งใจเอาใว้ ภาพผลงานที่ได้
ทำสะสมจากการใช้ เวลาว่างถูกรวบรวมและนำมาจัดแสดง เป็นการเปิดตัวสู่การ
เป็นศิลปินอิสระอย่าง เป็นทางการ โดยเริ่มจากนิทรรศการภาพพิมพ์ใจหทัยทวย
ราษฎร์ (The Engraving of My Heart) ซึ่งได้จัดแสดง ณ หอศิลป์ร่วมสมัยอาร์
เดล (Ardel Gallery of Modern Art) ระหว่างวันที่ 20 สิงหาคม - 4 ตุลาคม พศ.
2558 ถือเป็นผลงานการ แสดงเดี่ยวครั้งแรกของผม ซึ่งเป็นการนำเสนอผลงาน
ภาพพิมพ์เทคนิคการแกะสลัก

jyphoto8

แม่พิมพ์ลักษณะเดียวกับการทำแม่พิมพ์ธนบัตรให้เกิดเป็นเส้นสายและแสง
เงาอัน งดงามอย่างละเอียดอ่อน ประณีต ผลงานที่จัดแสดงในนิทรรศการครั้งนี้
สร้างสรรค์ ขึ้นในสองรูปแบบคือส่วนแรกเป็นพระบรมฉายาทิสลักษณ์ของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งสร้างสรรค์ด้วยความ
สำนึกในพระมหา กรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อีกทั้งยังเป็นการ
แสดงซึ่งความจงรัก ภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ผมยังสร้างสรรค์ใน
ลักษณะภาพทิวทัศน์ ผสมผสานกับรูปลักษณ์ของสถาปัตยกรรมที่สำคัญใน
ประเทศและต่างประเทศ

jyphoto6

หลังจากเสร็จสิ้นนิทรรศการเดี่ยวครั้งแรก ผมก็เริ่มสร้างสรรค์ผลงานอย่าง
ต่อ เนื่อง เพื่อเตรียมไว้สำหรับงานแสดงในครั้งต่อไป จนกระทั่งวันที่ 13 ตุลาคม
พศ. 2559 ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จสวรรคต ช่วงนั้นผมรู้สึกซึมเศร้าเสียใจ ท้อจน
ไม่มีจิตใจที่จะ สร้างสรรค์งาน จึงหยุดการทำงานไประยะหนึ่ง ต่อมาผมมาคิดได้ว่า
พระองค์ท่าน ทรงงานหนักเพื่อความผาสุกของมวลพสกนิกรของพระองค์ และผม
ระลึกถึงพระบรม ราโชวาทที่พระองค์ได้ประทานแก่ประชาชนชาวไทย ความว่า
"เมื่อมีโอกาสและมีงาน ทำควรเต็มใจทำโดยไม่จำเป็นต้องตั้งข้อแม้หรือเงื่อนไข
อันใดไว้ให้เป็นเครื่องกีดขวาง คนที่ทำงานได้จริงๆนั้นไม่ว่าจะจับงานสิ่งใดย่อมทำ
ได้เสมอ ถ้ายิ่งมีความ เอาใจใส่ มีความขยันและซื่อสัตย์สุจริต ก็ยิ่งจะช่วยให้
ประสบผลสำเร็จในงานที่ทำ สูงขึ้น" ผมจึงเริ่มสร้างสรรค์ผลงานต่อไปจนสำเร็จ

jyphoto7

ซึ่งคาดว่านิทรรศการเดี่ยวครั้งที่ 2 คงจะเกิดขึ้นในปี พศ.2565
โปรดรอและติดตามนะครับ

 

ส่ง
อีเมล์
หน้านี้

การเลือกรูปภาพและข้อความ
Arthur Danin Adler

Scene4 Magazine: Janine Yasovant

จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย
สำหรับบทความและบทวิจารณ์อื่นๆ ของ จานีน ยโสวันต์
กรุณาตรวจดู
 แฟ้มเก็บข้อมูล

Click Here for this article in English
©2022 Janine Yasovant - ©2022 Publication Scene4 Magazine

 

 

www.scene4.com

January 2022

   Sections~Cover · This Issue · inFocus · inView · inSight · Perspectives · Special Issues
  Columns~Adler · Alenier · Bettencourt · Jones · Luce · Marcott · Walsh 
  Information~Masthead · Submissions · Prior Issues · Your Support · Archives · Books
  Connections~Contact Us · Comments · Subscribe · Advertising · Privacy · Terms · Letters

| Search Issue | Search Archives | Share Page |

Scene4 (ISSN 1932-3603), published monthly by Scene4 Magazine–International Magazine
of Arts and Culture. Copyright © 2000-2022 Aviar-Dka Ltd – Aviar Media Llc.

2020-logo - Scene4 Magazine www.scene4.com

www,scene4.comSubscribe to our mail list for news and a monthly update of each new issue. It's Free!
 Name

 Email Address


Please see our Privacy Policy regarding the security of your  information.

sciam-subs-221tf71
Thai Airways at Scene4 Magazine
calibre-ad1