ศิลปะ
ของ
ประเทศไทย

งิ้วธรรมศาสตร์
ความงดงามของอุปรากรจีน

จานีน ยโสวันต์

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีหลายด้านและหลายมุมมอง สังคมไทยที่เป็นหนึ่ง
เดียวกันดูเหมือนว่าชาวต่างชาติที่มาเยี่ยมเยือนชาวไทยก็เป็นเช่นนั้น ยังมีแนว
วัฒนธรรมที่กว้างขวางของวัฒนธรรมในอาณาจักรซึ่งได้รับมาส่วนใหญ่มาจาก
อิทธิพลของวัฒนธรรมจีน อิทธิพลที่ปรากฏตัวอย่างฉับพลันที่สุดนี้มาจากเริ่ม
ศตวรรษที่ 15 ซึ่งเป็นช่วงการเดินทางของนายพลเรือเอกชาวจีนที่มีนามว่า
เจิ้งเหอ ผู้เป็นนักสำรวจที่มีชื่อเสียงและเป็นเอกอัครราชทูตทางวัฒนธรรมใน
ประวัติศาสตร์ ในช่วงเวลา 27 ปี ที่เจิ้งเหอเดินทาง 7 ครั้งจากชายฝั่งประเทศจีน
ลงมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปถึงอินเดีย ตะวันออกกลาง จนถึงแอฟริกา
เป็นเวลาเกือบร้อยปีก่อนหน้า คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส และวาสโก ดา กามา
เขาบัญชาการกองทัพเรือที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยสร้างมาจนเปรียบเทียบได้ว่า
เรือทุกลำของโคลัมบัสและ ดา กามารวมกันสามารถเก็บไว้ที่ท้องเรือเพียงลำเดียว
ของกองเรือของเขา ความเป็นมุสลิมที่ซื่อสัตย์ เจิ้งเหอมีความสนใจอย่างละเอียด
ในวัฒนธรรมอื่นๆที่ให้สร้างเสริมความอดทน เขาได้เขียนงานที่มีชื่อว่า
"การเปลี่ยนแปลงพลังงานด้วยความดีงาม" และความจำเป็นที่จะต้อง"ดูแลผู้คนที่
อยู่ห่างไกลด้วยความเมตตา"


ลิวหยิงเซิงแห่งมหาวิทยาลัยนานกิงกล่าวว่า"เมื่อการเดินเรือของเจิ้งเหอ
ถูกยับยั้งโดยการใช้เล่ห์กลทางการเมืองในศาลประเทศจีน มันเป็นการ
เปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ มันได้หยุดสิ่งที่จะเป็นอนาคตที่แตกต่างของเอเซีย
และโลก" เขาเป็นผู้นำนักเรียนทุนเจิ้งเหอและได้ชี้ประเด็นต่อไปว่า ความว่างเปล่า
ที่ถูกทิ้งโดยการถอนตัวของประเทศจีนจากการผูกมิตรกับต่างชาติได้ถูกเติมเต็ม
ภายใน 20 ปีให้หลังโดยระบบจักรวรรดินิยมของยุโรป และนำการผสมผสานที่
ซับซ้อนทางความคิดของเจิ้งเหอในการรักษาสันติภาพ การค้าขาย พิธีการ
ทูตที่ยอมจำนนให้การเอาชนะทางทหารของอีกฝ่าย

ในประเทศไทยมิได้เป็นแบบนั้น (หรือที่เรียกกันว่าประเทศสยามในอดีต)
ผลกระทบของการมาของเจิ้งเหอที่มายังอยุธยาซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ
สยามและอิทธิพลในภายหลังของการค้าขายของชาวจีนและการแลกเปลี่ยน
วัฒนธรรมได้รับการคุ้มครองจากการบุกรุกของชาวยุโรปโดยผู้ที่มีวิสัยทัศน์
อันยาวไกลและการใช้วิธีการทูตอย่างฉลาด

ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายญ์มหาราชผู้ครองอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ได้มีการ
แสดงอุปรากรจีนในสถานทูตฝรั่งเศส บาทหลวงเดอชัวสีผู้ติดตามเอกอัครราชทูต
เมอร์ซิเออร์ เชอวาเลีย เดอ โชมองต์ (พ.ศ. 2228 - 2229) ผู้เป็นผู้แทนของ
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่ง ประเทศฝรั่งเศส เขาเรียกการแสดงนั้นว่า
 "Commedie a la Chinoife une Tradgedie  a la Chinoife."
เมอร์ซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสอีกท่านหนึ่งก็เรียกว่า 
"Chinefe Comedy." การแสดงนั้นคืออุปรากรจีน

อุปรากรจีนมีเรื่องราวมาจากนิทานของเหล่าวีรชนและสิ่งเหนือธรรมชาติ รูปแบบ
ของอุปรากรจีนที่เรียกว่าอุปรากรปักกิ่งนั้นเป็นที่คุ้นเคยในแถบตะวันตก เติบโตมา
เป็นเวลา 200 ปีและถือว่าเป็นหนึ่งในการแสดงที่สูงส่งที่สุดของวัฒนธรรมจีน แม้
จะถูกเรียกว่าอุปรากรปักกิ่ง แต่ต้นกำเนิดที่แท้จริงไม่ได้อยู่ในปักกิ่งแต่อยู่ในจังหวัด
อันฮุยและฮูเป่ย แต่เดิมนั้นมีการแสดงต่อพระราชวงค์และต่อมาจึงแนะนำเข้าสู่
ประชาชนทั่วไป มีผลงานอุปรากรจีนหลายพันชิ้นครอบคลุมประวัติศาสตร์และ
วรรณกรรมจีนทั้งหมด

ในศตวรรษที่ 16 ยังมีคณะการแสดงของจีนที่มีชื่อเสียงในประเทศจีนตอนเหนือ
จนถึงศตวรรษที่ 18 มีกลุ่มอุปรากรจีนกลุ่มใหม่หลายคณะปรากฎขึ้นในเมืองปักกิ่ง
เพื่องานเฉลิมฉลองของจักรพรรดิเฉียนหลงแห่งราชวงค์ชิง (พ.ศ. 2279 - 2339)
เทคนิคการร้องเพลงแบบใหม่ถูกนำมาใช้จนถึงตอนปลายราชวงค์ชิง  อุปรากรจีนมี
ความแตกต่างมากมายในเรื่องลักษณะการร้อง การจัดเรียงบทเพลง และการ
นำเสนอบนเวที

ในอุปรากรปักกิ่ง เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายและกลองได้สร้างจังหวะให้กับการ
แสดง การแสดงขึ้นอยู่กับภาพลวงตา การแสดงท่าทาง การใช้เท้า และการแสดง
การเคลื่อนไหวร่างกายแบบอื่นเช่นท่าขี่ม้า ท่าแจวเรือ หรือท่าเปิดประตู
บทสนทนาที่ใช้สามารถแบ่งเป็นบทเล่าเรื่องและภาษาท้องถิ่นเมืองปักกิ่ง ในตอน
แรกมีแต่การจ้างตัวละครที่ดูจริงจังต่อมาจึงมีการจ้างตัวละครหญิงสาวและตัวตลก
บทบาทของตัวละครมีการกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด การออกแบบแต่งหน้าช่วยใน
การกำหนดตัวละคร ละครพื้นบ้านเก่าๆของอุปรากรปักกิ่งมีมากกว่า1,000 ชิ้น ส่วน
ใหญ่มาจากนิยายประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการเมืองและการทำสงคราม ทุกวันนี้
เรื่องราวมักเกี่ยวข้องกับวีรชนที่ปฏิวัติการปกครองแบบคอมมิวนิสต์หรือเหตุการณ์
ทางประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ในอดีตกาล

ในทางตอนใต้ของประเทศจีน การแสดงต่างๆถูกนำมาจากนิทานพื้นบ้านเรียกว่า
คุนฉู มีนักแสดงหลายคนเข้าร่วมการแสดง รูปแบบของอุปรากรจีนที่นำเข้ามายัง
ประเทศไทยนั้น ละม้ายคล้ายคลึงกับอุปรากรคุนฉู

คุนฉูเป็นประเพณีการละครที่เก่าแก่ที่สุดและมีอิทธิพลมากที่สุด การแสดงคุนฉู
มักจะมีมากกว่า 24 ฉาก มีบทเพลง โครงเรื่องที่ซับซ้อนและโครงเรื่องย่อยที่
เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสิ่งเหนือธรรมชาติ การแสดงมักจะใช้ผู้แสดง 12 คนแสดง
ท่าทาง แสดงละครใบ้ แสร้งทำท่าต่อสู้ กายกรรม การเต้นรำและร้องเพลง
วงดนตรีเล็กที่มีเครื่องเป่า เครื่องสาย กลอง เล่นคลอไปกับการร้องเพลงและการ
แสดงบนเวที

คุนฉูที่มีประเพณีมายาวนานกว่าอุปรากรปักกิ่ง คุนฉูได้รับการยกย่องเป็นอย่างมาก
และถือว่าเป็นพี่สาวของปักกิ่งโอเปร่าอีกด้วย เดิมคุนฉูจะถูกแสดงต่อเชื้อพระวงค์
และครอบครัวที่ร่ำรวยเท่านั้น ดนตรีนั้นจะนุ่มนวลกว่าและค่อนข้างเหมือนกันในแต่
ละฉาก บทสนทนาเป็นบทกวีที่สละสลวยกว่า เรื่องราวทุกเรื่องในคุนฉูเป็นเรื่อง
ความรัก น้อยครั้งที่จะเห็นบททางทหารหรือกายกรรมในบทละคร ผู้แสดงที่มี
ชื่อเสียงในอุปรากรปักกิ่งหลายคนเป็นนักแสดงอุปรากรคุนฉู เป็นเรื่องธรรมดาที่จะ
เห็นการแสดงร่วมกันของอุปรากรปักกิ่งและอุปรากรคุนฉูซึ่งมีทั้งนักแสดงชาย
และหญิงจากทั้งสองอุปรากร

การเต้นรำและความเคลื่อนไหวของบทบาทนั้นนุ่มนวลและเชื่อมต่อกันอย่างใกล้ชิด
กับการร้องเพลงของนักแสดง เครื่องดนตรีที่ใช้สำหรับอุปรากรคุนฉูก็แตกต่างจาก
อุปรากรปักกิ่ง การเลือกใช้บทกวีอย่างระวังในขณะแสดง มีการใช้เครื่องดนตรีเป่า
มากกว่าเครื่องดนตรีสาย เครื่องดนตรีอื่นๆ เช่นขลุ่ยไม้ไผ่และเครื่องให้จังหวะที่ทำ
เป็นพิเศษ

ในฐานะที่เป็นรูปแบบที่เก่าแก่ที่สุดของอุปรากรจีนที่มีประวัติมานานถึง 600 ปี
อุปรากรคุนฉูได้รับการยกย่องจากองการยูเนสโกให้เป็นหนึ่งในสิบเก้าการแสดง
ทางวัฒนธรรมจากทั่วทุกมุมโลกในปี 2544 คุนฉูเป็นรูปแบบศิลปะของจีนเพียง
หนึ่งเดียวที่ถูกจัดอันดับและยังเป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมของโลก

ทุกวันนี้ ประเทศไทยมีจำนวนประชากรชาวจีนมากที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ความกลมกลืนของชุมชนชาวจีนหลายแห่งเป็นกระบวนการต่อเนื่องเพราะชาวจีน
ได้รับการสนับสนุนให้กลายเป็นประชากรของประเทศไทย

งิ้วธรรมศาสตร์  (อุปรากรจีนของ ธรรมศาสตร์)

คำว่า "งิ้ว" เป็นคำไทยที่อ้างถึงการแสดงอุปรากรจีนในประเทศไทย
งิ้วธรรมศาสตร์ได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2500 โดย พลตรี ม.ร.ว. คึกฤทธิ์
ปราโมท อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ท่านเป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียงและ
นักการเมืองคนสำคัญ ท่านยังเป็นนักศึกษากฏหมายของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อีกด้วย นักการเมืองที่มีชื่อเสียงหลายคนเคยเป็นสมาชิกของกลุ่มงิ้วธรรมศาสตร์
โรงละครกลางแจ้งของชมรมศิลปะที่มีการสร้างงิ้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้
แสดงในหลายเทศกาลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 และการแสดงนั้นเป็นประเพณีของ
มหาวิทยาลัย

เวทีงิ้วธรรมศาสตร์คือเครื่องมือสำหรับจินตนาการของผู้ชม ดนตรีขึ้นอยู่กับ
ท่วงทำนองที่มีอยู่ บางเพลงก็มาจากเพลงพื้นบ้านที่คนเขียนบทละครได้เพิ่มเติม
เนื้อร้องเข้าไป

การพัฒนาศิลปะในการระบายสีบนใบหน้านั้นเกี่ยวข้องกับการแต่งหน้าของศิลปะ
การเล่นละคร แม้ว่าการทาสีบนใบหน้ามาจากช่วงยุคเริ่มแรก หรือบรรพบุรุษของ
พวกเขา ที่ได้ปรากฎมานานก่อนที่การละครของจีนจะเริ่มเป็นรูปร่าง

เมื่อศิลปะการละครของจีนได้พัฒนาขึ้น อุปสรรคของการสวมหน้ากากชัดเจนขึ้น
เรื่อยๆ เพราะหน้ากากขัดขวางนักแสดงไม่ให้มีการแสดงอารมณ์ออกทางใบหน้า
ใบหน้าที่แต่งเข้มทำให้ผู้ชมเห็นการแสดงอารมณ์ได้อย่างชัดเจน

ผู้เขียนบทและผู้กำกับที่ทำงานกับงิ้วธรรมศาสตร์ได้ให้สัญญากับนักแสดงว่าจะไม่
เปิดเผยตัวจริงของนักแสดงที่เป็นนักการเมืองที่มีชื่อเสียงและบางคนอาจเป็น
คอลัมน์นิสต์ของหนังสือพิมพ์และนิตยสารในประเทศไทย เมื่อสถานการณ์ของ
ประเทศไม่เป็นปกติและไม่ปลอดภัย งิ้วเป็นกระจกบานใหญ่ที่สะท้อนสถานการณ์
สังคมปัจจุบันได้ชัดเจนเช่นเดียวกับหนังสือพิมพ์

ผลงานใหม่ๆ หลายชิ้นมักจะฉุดรั้งขีดจำกัดของอิสระในการสร้างสรรค์และได้รับคำ
ชื่นชมและคำตำหนิ ขึ้นอยู่กับบรรยากาศทางการเมือง งิ้วธรรมศาสตร์ไม่ได้เป็น
เพียงประเพณีทางวัฒนธรรมเท่านั้น แต่มันยังเป็นการแสดงที่ชัดเจนของศิลปินที่
ช่วยเหลือสังคมกับผู้ชมอีกด้วย 

Send Us Your Comments
About This Article

©2006 Janine Yasovant
©2006 Publication Scene4 Magazine

จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย

For more of her commentary and articles, check the
Archives

 

 

 

april 2006

Cover | Contents | inFocus | inView | reView | inSight | Qreviews | Letters | Links | Special Issues Subscribe | Privacy | About | Terms | Contact | Archives |

Search This Issue Email This Page
 

Scene4 is published monthly by Scene4 Magazine - International Magazine of Performing Arts and Media - 6920 Roosevelt Way NE, Seattle, WA 98115. Copyright © 2000-2006 AVIAR-DKA Ltd - Aviar Media LLC. All rights reserved (including author and individual copyrights as indicated). All copyrights, trademarks and servicemarks are protected by the laws of the United States and International laws. No part of this issue may be reproduced or transmitted in any form or by any means, electronic or mechanical, including photocopying and recording for public or private use, or by any information storage or retrieval system, without the prior written permission of the publisher.