Scene4 Magazine — International Magazine of Arts and Media

โปง ลาง
สะอ อน

จานีน ยโสวันต์

Scene4 Magazine-reView

april 2007

Scene4 Magazine: Pong Lang Sa Orn
คลิกเพื่ออ่านบทความนี้ เป็นภาษาไทย

ภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยมีความหลากหลายในด้านภูมิศาสตร์ ภาษา
ประเพณีและวัฒนธรรม ทุกๆภาคของประเทศไทยมีภาษาถิ่นของตนเอง

อีสานคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้านคือลาวและ
กัมพูชา ภาษาและดนตรีมีความต่างกัน เน้นในเรื่องนาข้าว เครื่องดนตรีที่มาจาก
เสียงธรรมชาติ เหมือนหลายๆ ประเทศในเอเชีย

พวกเขาได้ยินเสียงกระดิ่งจากฝูงโคตอนทำงานในทุ่งนา เสียงที่มาจากกระดิ่งไม้
หรือทองแดงรอบคอของกระบือ ชาวบ้านได้ใช้เครื่องมือนี้สำหรับดนตรีพื้นบ้าน

โปงลางเป็นเครื่องดนตรีอีสานที่สร้างมาจากไม้หลายชนิดและบางครั้งก็ใช้ทองแดง
ด้วย ไม่ไผ่เป็นที่นิยมใช้ในการทำโปงลางที่มีลักษณะคล้ายระนาด ผู้เล่นสามารถ
ถือเอาไว้ในมือ ผูกไว้กับเสาหรือแขวนไว้ตรงกำแพง โปงลางสามารถเล่นโดย
ลำพังหรือเล่นกับเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆได้ มักจะมีการเล่นโปงลางในหมู่บ้านหรือ
ช่วงงานเทศกาลต่างๆ ผู้คนสามารถเรียนโปงลางจากครูผู้สอนและตั้งวงดนตรีของ
ตนเองได้ และยังเป็นดนตรีประกอบละครโทรทัศน์ของไทย เช่นเรื่องแคนลำโขง
แผ่นดินแม่ โปงลาง และแคนซึ่งเป็นเครื่องดนตรีแบบเป่าลมไม้ก็เป็นสัญลักษณ์
ของภาคอีสานประเทศไทย เสียงของโปงลางสามารถปรับเสียงกับแคนถ้าเล่น
เพลงพื้นบ้าน แต่ถ้าเล่นกับดนตรีตะวันตกก็สามารถปรับเสียงกับคีย์บอร์ดได้อีกด้วย

อีสานเป็นภูมิภาคที่น่าตื่นตาตื่นใจสำหรับการแสดงบนเวทีเพราะภาษาถิ่นอีสาน
ชัดเจนและกังวานกว่าภาษาถิ่นอื่นๆ ชาวอีสานสามารถพูดภาษาไทยกลางได้
ชัดเจนและสำเนียงเป็นเอกลักษณ์ เราสามารถกล่าวได้ว่าอีสานเป็นภาคที่ยากจน
ของประเทศไทย ผู้คนเข้ามาทำงานในเมืองใหญ่เมื่อพวกเขาประสบปัญหาภัยแล้ง
ครั้งแล้วครั้งเล่า

Scene4 Magazine: Pong Lang Sa Orn

โปงลางสะออนเป็นวงดนตรีอีสานจากจังหวัดกาฬสินธุ์ จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อดนตรี
พื้นบ้าน ดนตรีตะวันตกรวมกับความตลกขบขันในการฟื้นฟูศิลปะโบราณ สองปีก่อน
วัยรุ่นไทยเช่นโปงลางสะออนได้เดินข้ามผ่านดนตรีร๊อคและป๊อป หันไปเลือกเพลง
พื้นบ้านแทน ตอนนี้พวกเขามาอยู่ที่กรุงเทพแล้ว ได้มีการปรากฏตัวหลายครั้งตาม
รายการทีวีและการแสดงกลางแจ้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มหาวิทยาลัยต่างๆเพราะ
ทุกคนเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย ในคณะมีคนมากกว่า 20 คน แต่งกายด้วยผ้าไหม
ไทยหลากสีสัน ผู้ชายสวมโสร่งผ้าไหมไทยยาวถึงเข่าและเสื้อยืดสีขาว พวกเขา
สร้างความสนุกสนานให้กับผู้ชมด้วยการผสมผสานเพลงยอดนิยมของไทยและ
ต่างประเทศโดยใช้เครืองดนตรีอีสานโบราณ นักเต้นแสดงอย่างกระปรี้กระเปร่าใน
การร้องเพลงพร้อมกับเต้นไปด้วย

สมพงษ์ คุณาประถม ผู้ก่อตั้งวงและผู้แสดงนำในการโชว์ทุกครั้งกับผู้หญิงสองคน
คือลาล่าและลูลู่ ทั้งคู่พูดภาษาชาวไทยภูเขา ไทยกลาง ผสมกับภาษาอังกฤษทำ
ให้ผู้ชมหัวเราะ เราสามารถพูดตรงๆได้ว่าน่ารังเกียจเล็กน้อยถ้าพวกเราชมการ
แสดงของพวกเขาเป็นครั้งแรกเพราะพวกเขาร้องเพลงต่างชาติผิดๆ ถูกๆ เพื่อให้
ผู้ชมหัวเราะเพียงอย่างเดียว อันที่จริงแล้ว นายสมพงษ์กล่าวว่าพวกเขาต้องการให้
คนไทยหันมามองตนเองแล้วถามตัวเองว่าทำไมโปงลางสะออนนำโปงลางไปเล่น
กับดนตรีตะวันตกและทำไมโปงลางสามารถทำให้คนหัวเราะได้ ความเป็นที่นิยม
ของพวกเขาได้สร้าง VCD DVD และคลิบโทรศัพท์มือถือที่พวกคนชอบดูกัน

เมื่ออยู่ภายใต้สัญญา วงดนตรีจะมีผลงานห้าอัลบั้ม อัลบั้มแรกจะวางจำหน่ายสอง
เดือนหลังจากคอนเสริท มีเพลงอีสานหลากหลายเช่น เพลงลูกทุ่ง เพื่อชีวิต ป๊อป
แดนซ์ แรป ร่วมกับวงดนตรีพื้นบ้าน และจะมี VCD บันทึกการแสดงสดอีกด้วย
น่าแปลกใจที่จะรับชมแนวโน้มใหม่ที่จะกลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ของคนไทย เสียง
ที่สร้างความบันเทิงไม่ได้จำกัดอยู่ที่ภาคอีสานอีกต่อไป ความสำเร็จของวงโปงลาง
สะออนได้เป็นแรงบันดาลใจให้กับวงดนตรีโปงลางในโรงเรียนทั่วประเทศ

Post Your Comments
About This Article

©2007 Janine Yasovant
©2007 Publication Scene4 Magazine

Scene4 Magazine — Janine Yasovant

จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย

For more of her commentary and articles, check the Archives

 

Scene4 Magazine-International Magazine of Arts and Media

april 2007

Cover | Contents | inFocus | inView | reView | inSight | Plays | Blogs | Links | Submissions Advertising | Special Issues | Support | Subscribe | Privacy | About | Terms | Contact | Archives

Search This Issue Email This Page

Scene4 (ISSN 1932-3603), published monthly by Scene4 Magazine - International Magazine of Arts and Media - 6920 Roosevelt Way NE, Seattle, WA 98115. Copyright © 2000-2007 AVIAR-DKA Ltd - Aviar Media LLC.