Scene4 Magazine — International Magazine of Arts and Media

อินไซท์

april 2008

จานีน ยโสวันต์

ภาพยนตร์เรื่องแปดวันแปลกคนเป็นความพยายามทำหนังฟิลม์นัวร์สีขาวและ
ดำที่ในทุกวันนี้คนไทยไม่ค่อยพบเห็นในยุคที่ครอบคลุมไปด้วยสีสัน รูปแบบ
และการนำเสนอนั้นดึงดูดผู้คนที่ชอบหนังดีและจริงจัง แม้ว่าจะมีหนังผีและหนัง
ชายรักชายมากมายในประเทศไทยและหนังประเภทนั้นทำเงินได้มากมาย
เพราะว่าชาวไทยและผู้คนทั่วโลกต้องการจะดูหนังสบายๆเพื่อที่จะหันเหความ
สนใจของตัวเองออกไปจากความจริงของปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจ

แน่นอนหนังเรื่องแปดวันแปลกคนอยู่ในด้านที่จริงจัง สามารถจัดกลุ่มเป็น
ภาพยนตร์สะเทือนขวัญแนวจิตวิทยาเพราะว่ามีการสะท้อนถึงความน่ากลัวและ
ความน่าพิศวงในสังคมไทยและมีการตรวจสอบถึงความจริงอันโหดร้าย ผู้กำกับ
หนุ่มนามฉัตรชัย ยอดเศรณีใช้เวลาเตรียมการนาน 2 ปีและใช้เวลาถ่ายทำ 25
วันโดยไม่มีวันหยุด ฉัตรชัยเคยอยู่ในธุรกิจโฆษณาและมีประสบการณ์มากมาย
มีที่ปรึกษามืออาชีพ กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน การเลือกของเขาประสบ
ความสำเร็จเมื่อผลตอบรับจากผู้ชมดีอย่างน่าประหลาดใจ

นี่คือภาพยนตร์อินดี้เรื่องแรกของปีนี้จากบริษัทขนาดเล็ก มีขนาดการผลิตเล็ก
และมีการตลาดที่เล็ก ข้อดีของการผลิตแบบเล็กๆคือการทำงานที่ยืดหยุ่นได้
และมีอิสรภาพมากกว่าในทางความคิดสร้างสรรค์ มีอุปสรรคน้อย แต่ที่แย่คือ
รายได้น้อยลงซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้สร้างและทีมงานไม่พึงปรารถนาแต่ก็หลีกเลี่ยง
ไม่ได้ ในความคิดของดิฉันคือว่าผู้สร้างจงใจที่จะมองข้ามรายได้ทั้งหมดและ
เน้นในเรื่องการทำภาพยนตร์ที่ดีสำหรับผู้ชม เพราะพวกเขารักและสร้างหนัง
ด้วยใจ ไม่ได้ทำเพื่อเงินทองเท่านั้น

เรื่องย่อภาพยนตร์:ป้าชุบ หญิงชราที่เป็นโรคความจำเสื่อม (แสดงโดยคุณ
วาสนา ชลากร) ได้ชวนเด็กผู้หญิงคนหนึ่งเข้าไปในบ้านและขังเด็กผู้หญิงไว้ใน
บ้าน 1 อาทิตย์โดยที่ไม่ได้ตั้งใจ พ่อแม่ของเด็กเสียใจมากแต่มีนักศึกษาแพทย์
ที่ขาดคุณธรรมคนหนึ่งมีเจตนาซ่อนเร้น เขาทราบว่าทั้งหญิงชราและเด็กผู้หญิง
นั้นเป็นหัวข้อที่ดีที่สุดสำหรับวิทยานิพนธ์ทางจิตวิทยาของเขาและเขาพยายาม
จะทำให้สถานการณ์แย่ไปกว่าเดิม

02-cr

น่าประหลาดใจที่ว่า ตัวละครหลักของเรื่องมีเพียง 3 คนเท่านั้น หญิงชรา
เด็กผู้หญิง และนักศึกษาแพทย์ แต่พวกเขาก็กลมกลืนกันเป็นอย่างดีในหนัง
เรื่องทั้งหมดไม่ได้ดูแปลกแยกและไม่ได้ไร้เหตุผลแต่ก็มีจุดบกพร่องบ้าง ดิฉัน
ไม่ทราบว่านี่เป็นความตั้งใจหรือไม่ ป้าชุบที่อยู่ใกล้กับจุดเกิดเหตุไม่ได้ถูก
สอบสวนจากตำรวจทั้งๆที่ทุกคนทราบว่าเธอเป็นบ้า แต่เมื่อเรื่องราวตึงเครียด
มากขึ้น ความไม่สอดคล้องกันก็จะถูกมองข้ามและได้รับการยอมรับอย่างง่ายๆ
โดยผู้ชมที่ชอบภาพยนตร์เขย่าขวัญ และที่จริงหนังเรื่องนี้ก็เป็นหนังเขย่าขวัญ

03cr

ด้านภาพทั้งหมดมีหลายฉากเหมือนโฆษณาเพราะทีมเคยทำธุรกิจด้านโฆษณา
มาก่อน มันดูน่าสนใจแต่ก็ไม่ได้เป็นภาพยนตร์ไปทั้งหมด บางฉากถ่ายทำใน
สตูดิโอแทนที่จะเป็นบ้านจริงๆ ในความคิดของดิฉัน สิ่งเหล่านี้ทำให้ความ
สมจริงและอารมณ์ของเรื่องราวดูอ่อนลง

การออกแบบการผลิตค่อนข้างมีผลทีเดียว บรรยากาศที่สร้างขึ้นมานั้นดูเป็น
แบบธรรมดาในสถานการณ์ชีวิตจริง แต่ก็มีสิ่งที่แปลกและไม่เข้ากันในบ้านของ
ป้าชุบ เช่นตุ๊กตาเก่าที่แสดงถึงความเจ็บป่วยและสภาพจิตใจที่สับสน บางทีก็มี
ผลต่อการแสดง บทของป้าชุบอาจจะแสดงได้ง่ายแต่นักแสดงที่ดีก็จะใส่
ชีวิตชีวาเข้าไปได้อีก เธอไม่ได้เสแสร้งว่าเป็นบ้าแต่เธอสามารถแสดงเหตุผล
และอารมณ์ของคนบ้าได้อย่างสมจริง เธอเจ็บป่วยและรู้สึกผิดกับสิ่งที่ไม่ดีใน
อดีต ผู้ชมจะรู้สึกกลัวและเห็นใจเธอในเวลาเดียวกันเพราะเธอเป็นจุดสำคัญ
ของเรื่องราว

ผู้กำกับบอกกับสื่อมวลชนว่าเขาเลือกที่จะถ่ายภาพยนตร์ขาวดำเพราะว่ามัน
แสดงและแยกแยะความดีและความชั่วได้อย่างมีประสิทธิผล แต่ดิฉันคิดว่ายังมี
ช่วงที่ยังไม่ชัดเจนในภาพยนตร์เรื่องนี้ คนเลวอาจเป็นเหยื่อที่น่าสงสารและคน
ดีอาจเป็นปีศาจที่แท้จริง มีความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่บดบังการมองเห็น
ของเราและบางทีเราก็ไม่ทราบแน่ชัดว่าใครเป็นเหยื่อและใครเป็นผู้ร้ายกันแน่
แต่จะอย่างไรก็ตามแปดวันแปลกคนก็เป็นภาพยนตร์เขย่าขวัญที่ดีเกือบจะ
เทียบชั้นของฟิลม์นัวร์ชั้นเยียมและประสบความสำเร็จในการใช้สีขาวและดำ
เป็นสื่อ พวกเราจะคอยติดตามผู้กำกับคนนี้และทีมงานของเขาต่อไป

กรุณาลงความเห็น เกี่ยวกับบทความนี้

ส่ง
อีเมล์
หน้านี้

©2008 Janine Yasovant
©2008 Publication Scene4 Magazine

Jane2008-crs
จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย

สำหรับบทความและบทวิจารณ์อื่นๆ ของ จานีน ยโสวันต์
กรุณาตรวจดู แฟ้มเก็บข้อมูล

 

Scene4 Magazine-International Magazine of Arts and Media
This Issue
Cover | This Issue | inFocus | inView | reView | inSight | Blogs | Links | Masthead | Submissions Advertising | Special Issues | Subscribe | Privacy | Terms | Contact | Archives

Search This Issue Email This Page

Scene4 (ISSN 1932-3603), published monthly by Scene4 Magazine - International Magazine of Arts and Media. Copyright © 2000-2008 AVIAR-DKA LTD - AVIAR MEDIA LLC. All rights reserved.