เปลวเพลิง แห่ง
ศิลปะในประเทศไทย

จานีน ยโสวันต์

oldnew-logo1-crs

January 2013

Originally Published January 2010

โอกาสทางการศึกษาในประเทศไทยนั้นจะเห็นได้อย่างชัดเจนที่ว่า พ่อแม่พยายาม
ที่จะส่งเสริมให้ลูกชายและลูกสาวเรียนให้สูงที่สุดเท่าที่พวกเขาจะทำได้ การรับ
เอาหลักสูตรจากประเทศอังกฤษทำให้นักเรียนไทยเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่ชั้น
อนุบาลหรือประถมศึกษาเพราะการวิจัยทางเทคโนโลยีและความก้าวหน้าจาก
ต่างประเทศเข้ามายังฝั่งประเทศไทย ประเทศนั้นเองก็ได้ตอบรับการพัฒนานี้ด้วย
ความกระตือรือร้นและเบนทิศทางระบบการศึกษาไปยังทางด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีมากกว่าทางด้านมนุษยศาสตร์และศิลปะ

ทุกวันนี้ยังมีทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนเกียรตินิยมที่เรียนมาทางสาย
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและทุนวิจัยมากมายสำหรับนักวิทยาศาสตร์ เหตุผล
นั้นชัดเจน นั่นก็คือว่าการสนับสนุนและความสนใจในเรื่องมนุษยศาสตร์และศิลปะ
นั้นลดลงและในบางด้านก็สูญหายไปแทบหมดสิ้น รู้สึกน่าใจหายที่ว่ารัฐนั้นถูกหัน
เหความสนใจจนให้สิทธิ์งานศิลปะเพียงเล็กน้อย ศิลปะของชาตินั้นก็สูญหายและ
กระจัดกระจายไปยังมือของนักสะสมงานศิลปะและพ่อค้า

มีความนิยมอีกประการหนึ่งคือพ่อแม่ลงทุนอย่างมากในการศึกษาของลูกโดยการ
ส่งไปเรียนต่างประเทศ หลังจากที่เรียนจบแล้ว บางคนกลับมา บางคนก็ยังไม่กลับ
โดยเน้นการเรียนวิชาบริหารธุรกิจ-เรียนรู้วิธีการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ
ประเทศที่ร่ำรวยก็ทำได้สำเร็จเพราะพวกเขาสามารถหางานที่ได้เงินมากในบริษัท
ขนาดใหญ่หรือก่อตั้งรากฐานพัฒนาธุรกิจของตนเอง นี่เป็นเรื่องที่น่าลำบากเพราะ
นักศึกษาไทยที่เรียนอยู่ต่างประเทศพบว่ามีความยุ่งยากที่จะปรับเปลี่ยนการดำเนิน
ชีวิตที่พวกเขาอยู่ต่างประเทศกับโอกาสและการดำเนินชีวิตตอนที่อยู่ประเทศบ้าน
เกิด นั่นคือการปล่อยบุคคลที่มีความสามารถออกไปทั้งที่ประเทศไทยไม่อาจหาได้
ง่ายดายนัก

ในระบบการศึกษาไทย การบริหารธุรกิจนั้นมีการแข่งขันอย่างรุนแรงทางด้าน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและบริษัทเอกชน
เงินนั้นซื้อแรงงานได้ คนเหล่านี้เป็นพนักงานที่ได้รับเงินเดือนสูงและมีมาตรฐาน
การใช้ชีวิตที่ดีกว่า สิ่งล่อลวงจิตใจนั้นอยู่ในอินเตอร์เน็ตโทรทัศน์และใน
โทรศัพท์มือถือ

นักศึกษาที่เรียนทางด้านมานุษยวิทยาและศิลปะนั้นถูกละเลยและมีรายได้ที่น้อย
กว่า และบางทีกลายเป็นเป็นข้าราชการที่ดีหรือเจ้าหน้าที่ทุจริตที่รับสินบน นี่เป็น
ทางเลือกที่น่าสับสนจริงๆ

ดิฉันไม่ใช่นักวิจัยทางด้านการศึกษา แต่ในฐานะที่เป็นผู้สอนภาษาอังกฤษ IELTS
(International English Language Testing System) คนหนึ่งในจังหวัด
เชียงใหม่ ดิฉันพบว่าความรู้ภาษาอังกฤษของคุณครูโรงเรียนไทยที่สอน
ภาษาอังกฤษโดยค่าเฉลี่ยนั้นไม่ค่อยดีนัก (ประมาณชั้นประถมศึกษาปีที่ 2)
นี่ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่น่าสนับสนุนเลย ผลลัพธ์ของการขาดความสามารถทาง
ภาษาอังกฤษนั้นเป็นอุปสรรคสำหรับคนไทยที่จะเข้าถึงทางด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี นั่นก็หมายความว่าการเปิดเผยต่องานศิลปะ (ซึ่งเป็นความใฝ่ฝัน
พื้นฐานของคนไทย)นั้นถูกขัดขวางเพราะกำแพงทางภาษาและความคิดที่ล้าสมัย
อีกทั้งการขาดแคลนเงินสนับสนุน

น่าเสียดายที่เห็นว่าผู้คนเป็นจำนวนน้อยกว่าน้อยเอาใจใส่และสนับสนุนงานศิลปะ
อย่างจริงจัง งานศิลปะของสมัยนี้อาจสูญหายไปถ้าแนวโน้มกระแสหลังของความ
สนใจตะวันตกเพียงแต่ให้ความสนใจกับผลกำไรจากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ศิลปะของอิสระชนนั้นเป็นการเติมเชื้อเพลงแห่งอิสรภาพของศิลปิน

กรุณาลงความเห็น เกี่ยวกับบทความนี้

ส่ง
อีเมล์
หน้านี้

©2010,2013 Janine Yasovant
©2010,2013 Publication Scene4 Magazine

จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย

สำหรับบทความและบทวิจารณ์อื่นๆ ของ จานีน ยโสวันต์
กรุณาตรวจดู แฟ้มเก็บข้อมูล

 

Sc4logo-nv5-dk-spec-cvr

®

January 2013

Cover | This Issue | inPrint | Books | Blogs | Comments | Contacts&Links | Masthead | Submissions Advertising | Special Issues | Contact Us | Payments | Subscribe | Privacy | Terms | Archives

Search This Issue

 Share This Page

Scene4 (ISSN 1932-3603), published monthly by Scene4 Magazine - International Magazine of Arts and Media. Copyright © 2000-2013 AVIAR-DKA LTD - AVIAR MEDIA LLC. All rights reserved.

Now in our 13th year of publication with
comprehensive archives of over 7000 pages 

Scene4 Magazine - Thai Airways | www.scene4.com

 

Scene4 Magazine - Scientific American | www.scene4.com
Character Flaws by Les Marcott at www.aviarpress.com
Gertrude Stein-In Words and Pictures - Renate Stendhal