Scene4 Magazine — International Magazine of Arts and Media

สมเด็จพระนเรศวร

มหาราช
ชีวิตบนแผ่นฟิลม์

จานีน ยโสวันต์

Scene4 Magazine-reView

march 2007

Scene4 Magazine - King Naresuan
คลิกเพื่ออ่านบทความนี้ เป็นภาษาไทย

ถึงแม้ประเทศไทยดูเหมือนว่าจะแปลกถิ่นและลึกลับ แต่ประวัติศาสตร์
มีความเหมือนกับประวัติศาสตร์ของยุโรป อาณาจักรต่างๆรุ่งเรืองและ
ล่มสลาย ราชวงศ์ต่างๆ เบ่งบานและโรยรา กลอุบายทางการเมืองที่
ถูกปลุกเร้าด้วยความโลภและความขัดแย้งทางวัฒนธรรม

ถ้าภาพยนตร์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยที่มีทั้งความรู้และความบันเทิง
บอกเราเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ของไทยจากอดีตถึงปัจจุบันก็จะพบว่า
พระมหากษัตริย์ไทยในอดีตทรงงานหนักเพื่อพสกนิกรปวงชน
ภาพยนตร์เรื่อง  "ตำนานสมเด็จพระนเรศวร" ได้รับการสร้างและกำกับ
โดยหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล หรือที่รู้จักกันว่าท่านมุ้ยภาพยนตร์เรื่อง
นี้มีลักษณะตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น เป็นเรื่องราวที่มีคุณค่าการสร้าง
อย่างประณีต ภาพยนตร์ที่เปิดเผยความเป็นมนุษย์และหัวใจของ
พระมหากษัตริย์ไทยในอดีตแทบทุกพระองค์ทรงเป็นผู้นำกองทัพ
ขนาดใหญ่และทรงต่อสู้เพื่อประเทศอันเป็นที่ รัก ไม่ว่าเพื่อเมือง
อาณานิคมแห่งใหม่หรือปกป้องเขตแดน บางพระองค์ถูกปลง
พระชนม์กลางสนามรบ ที่น่าประหลาดใจก็คือสตรีมีบทบาทและต่อสู้
ได้เช่นเดียวกับ บุรุษไม่ว่าจะมียศระดับใด พระราชาของประเทศที่พ่าย
แพ้ก็จะต้องส่งเจ้าชายและเจ้า หญิงไปเป็นตัวประกันพร้อมทั้งเครื่อง
บรรณาการต่างๆ เช่นกองทหาร เสบียง อาวุธ ม้า และช้างให้กับผู้ชนะ

เป็นเวลาเกือบ 500 ปีผ่านมาแล้วอาณาจักรอโยธยาและมีหัวเมือง
พิษณุโลกเป็นป้อมปราการคุ้มกัน

ในปีพ.ศ2102พม่าได้ยกทัพมารุกรานเมืองพิษณุโลกพระมหาธรรม
ราชา พระราชาที่ปกครองเมืองพิษณุโลกได้ยอมจำนนให้กับกองทัพ
อันมากมายมหาศาลของพม่า เพราะอาณาจักอโยธยาไม่ได้ส่งกำลัง
มาช่วยเหลือในสงครามพระนเรศวร เจ้าชายจากเมืองพิษณุโลกและ
บุตรชายของพระมหาธรรมราชาถูกจับเป็นองค์ประกันเมื่อพระองค์มี
พระชันษาเพียงเก้าปีและได้เป็นบุตรบุญธรรมของพระราชาบายินนอง
(บุเรงนอง) กษัตริย์ของพม่า

หลายปีต่อมา พี่สาวของพระนเรศวรที่มีพระนามว่า พระสุพรรณกัลยา
ถูกส่งตัวมาที่พม่าเช่นกันในฐานะเป็นนางสนมของพระราชาบายินนอง
พระนเรศวรได้รับการศึกษาโดยพระสงฆ์ศาสนาพุทธที่มีนามว่า
"พระมหาเถรคันฉ่อง" ซึ่งเป็นอดีตพระอาจารย์ของพระราชาบายินอง
ท่านได้สอนพระนเรศวรในเรื่องศิลปะการต่อสู้วรรณกรรมการเมือง
การปกครอง และพิชัยสงคราม

in-burma-cr

เป็นเรื่องธรรมดาในตอนนั้นที่อาณาจักรที่ปราชัยจะส่งจะส่งเจ้าหญิง
ให้ไป เข้าพิธีสมรสกับพระราชาฝ่ายผู้ชนะ นี่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่
เป็นที่ยอมรับแต่ก่อนหน้าการมาถึงพม่าของพระสุพรรณกัลยาเจ้า
หญิงแห่งอาณาจักรอโยธยาและบุตรสาวคนที่สองของพระราชินี
สุริโยทัยที่มีพระนามว่า "พระเทพกษัตรี"ผู้ที่ไม่เต็มใจสมรสกับ
พระราชาแห่งอาณาจักรล้านช้าง ในการแลกเปลี่ยนกำลังเสริมในการ
ต่อต้านพม่าพระมหาธรรมราชาได้พบแผนการณ์ของอาณาจักร
อโยธยาและได้บอกให้พระราชาบายินนองส่ง ทหารไปลักพาพระเทพ
กษัตรีหลังจากที่พระเทพกษัตรีได้พบกับพระราชาบายินนองแล้ว
พระเทพกษัตรีทรงปฏิเสธข้อเสนอของพระราชาบายินนองจากนั้น
และได้ทำการอัตวินิบาตกรรม

เป็นเวลาถึง15 ปีที่ที่ประชนชนในตอนนั้นเรียกตัวเองว่าเป็นชาวสยาม
รวมทั้งพระนเรศวรได้สูญเสียอิสรภาพและถูกควบคุมโดยชาวพม่า ใน
ปีพ.ศ.2127สามปีหลังจากที่พระราชาบายินนองเสด็จสวรรคต
ความสัมพันธ์ระหว่าง ระหว่างสยามและพม่าพังทลายลงจึงหลีกเลี่ยง
ไม่ได้ที่จะตามด้วยการ จู่โจมอย่างหนักหน่วงจากทัพพม่าพระนเรศวร
ทรงออกมาตอบโต้ และใน ปี พ.ศ. 2129พระองค์ได้ครองเมือง
ล้านนาซึ่งเป็นเมืองกันชนระหว่างสองอาณาจักร ในปี พ.ศ. 2133
สมเด็จพระมหาธรรมชาเสด็จสวรรคต และพระนเรศวรกลาย
เป็นผู้นำอย่างเป็นทางการของอาณาจักรอโยธยา ทรงมีพระนามว่า
สมเด็จพระนเรศวรปีต่อมา พ.ศ. 2134 ทัพพม่าโจมตีอีกครั้งเพื่อกอบ
กู้เมืองที่เสียไป พระมหาอุปราชาถูกปลงพระชนม์โดยพระนเรศวรใน
การกระทำยุทธหัตถีบนหลังช้าง

Hongsa2cr

ปีถัดมาสมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปตีเมืองตะนาวศรี(เมืองของพม่าใน
ขณะนั้น) และกัมพูชาในปี พ.ศ. 2136 ชาวไทยขนานนามพระองค์ว่า
มหาราช เนื่องจาก พระองค์ขยับขยายและรวบรวมอโยธยา ล้านนา
ล้านช้าง กัมพูชา และบางส่วน ของพม่าพระองค์ได้ตรากฎระเบียบ
อย่างเข้มงวดกับเหล่าทหารและประชาชน ในช่วงเวลาที่ครองราชย์
อโยธยาเป็นเมืองที่ปลอดภัยและทรงอำนาจ การดัดแปลง
ประวัติศาสตร์ไทยให้เป็นภาพยนตร์สำหรับคนไทยและชาวต่างชาติ
ที่ต้องการทราบประวัติศาสตร์ไทยไม่ใช่งานที่ง่ายดายนักท่านมุ้ยได้
ใช้เวลามาก มายในการค้นคว้าเพื่อที่จะเปิดเผยข้อเท็จจริงและ
เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์และเพื่อการจับต้องการมองเห็นและ
ความรู้สึกในเวลานั้น ใช้เวลาทำกว่า 7ปีและค่าใช้จ่ายกว่า700 ล้าน
บาท(20ล้านเหรียญสหรัฐ) เพื่อที่จะถ่ายทำภาพยนตร์ประวัติศาสตร์
เรื่องนี้ท่านมุ้ยรู้สึกภาคภูมิใจว่าเรื่องนี้เป็นภาพยนตร์อิง
ประวัติศาสตร์ไม่ใช่สารคดี

director2cr

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรเป็นประสบการณ์ที่สนุกสนานสำหรับผู้รับชม
ความจริงและจินตนาการถูกผสมผสานเข้ากันอย่างดี สยามและพม่า
ในเวลานั้นแทบไม่ต่างกันในเรื่องความเชื่อทางศาสนาเพราะทั้งสอง
อาณาจักรเป็นชาวพุทธ ท่านมุ้ยได้สร้างฉากที่น่าตื่นเต้นมีรายละเอียด
เพื่อที่จะคลายความสงสัยในหนังสือพงศาวดาร ด้วยภาพยนตร์เรื่องนี้
ท่านได้พยายามยกระดับ ภาพยนตร์ไทยไห้ก้าวขึ้นไปอีกระดับ
ท่านมุ้ยยังได้แสดงภาพกลยุทธที่พระนเรศวรใช้ในการต่อสู้กับพม่า
หลายครั้งหลังจากประกาศอิสรภาพ แม้ว่าพระนเรศวรไม่มีทหาร
เพียงพอสำหรับทำศึกต่อต้านทัพพม่าที่มีกำลังพลมากกว่าในที่สุด
แล้วพระองค์และกองทหารก็ได้รับชัยชนะ เหมือนเป็นความท้าทาย
สำหรับนักสร้างหนังมันไม่ง่ายเลยที่จะเป็นพระราชาที่ดีและประสบ
ความสำเร็จได้ในเวลาเดียวกัน

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชม
www.kingnaresuanmovie.com/index_thai.php

 

Post Your Comments
About This Article

©2007 Janine Yasovant
©2007 Publication Scene4 Magazine

Scene4 Magazine — Janine Yasovant

จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย

For more of her commentary and articles, check the Archives

 

Scene4 depends largely on support from its readers.
If you like the magazine, please show your support here.

And...thank you for supporting us by visiting our advertisers.
Every click counts.

 

What's This?

 

Scene4 Magazine-International Magazine of Arts and Media

march 2007

Cover | Contents | inFocus | inView | reView | inSight | Plays | Blogs | Links | Submissions Advertising | Special Issues | Support | Subscribe | Privacy | About | Terms | Contact | Archives

Search This Issue Email This Page

RSS FEEDS

Scene4 (ISSN 1932-3603), published monthly by Scene4 Magazine - International Magazine of Arts and Media - 6920 Roosevelt Way NE, Seattle, WA 98115. Copyright © 2000-2007 AVIAR-DKA Ltd - Aviar Media LLC. All rights reserved (including author and individual copyrights as indicated). All copyrights, trademarks and servicemarks are protected by the laws of the United States and International laws. No part of this issue may be reproduced or transmitted in any form or by any means, electronic or mechanical, including photocopying and recording for public or private use, or by any information storage or retrieval system, without the prior written permission of the publisher.