จานีน
                     ยโสวันต์

                         ศิลปะ
                           ของ
                 ประเทศไทย

                     องค์บาก
   ภาพยนตร์ไทยแอคชั่น
 

Perspectives
September 2005

ชาวเอเชียได้ตอบรับภาพยนตร์แนวแอคชั่นและผจญภัยมาช้านานแล้วผู้คน
ชื่นชอบมองดูฉากการต่อสู้แม้ว่ามันจะไม่ค่อยสมจริงเท่าใดนัก โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งความน่ากลัวของศิลปะการต่อสู้ ผู้คนจำนวนหนึ่งมองข้ามข้อบกพร่อง
ของภาพยนตร์เพื่อที่จะติดตามดารานำและดูว่าผู้กำกับคิวบู๊จะสร้างความ
อัศจรรย์ได้อย่างไร

โทนี่ จา หรือนายพนม ยีรัมน์ เกิดเมื่อปี พ.ศ 2519 ในจังหวัดสุรินทร์(จังหวัด
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีพรมแดนติดกับประเทศลาวและ
กัมพูชา) เขาเป็นบุตรชายคนที่สามจากทั้งหมด 4คน พ่อแม่ของพนมเป็น
ชาวนาและคนเลี้ยงช้าง ในวัยเด็ก เด็กชายพนมเลี้ยงช้างและทุกวันและ
กระโดดข้ามหลังลูกช้างสองเชือกที่มีชื่อแปลว่า ดอกไม้และใบไม้เป็นเวลา
หลายปี เมื่อช้างเติบใหญ่มากขึ้นก็เป็นการพัฒนาทักษะการกระโดด จากล่าว
ว่า "การขี่ช้างก็เป็นทักษะอย่างหนึ่งในตัวของมันเอง แต่เมื่อคุณได้ฝึกฝนให้
พวกมันเก็บใบไม้หรือน้ำแล้วพ่นกลับมาหาคุณ คุณก็จะสนิทกับช้างแล้วก็จะ
กลายเป็นพวกเดียวกันในที่สุด"

แต่ชีวิตในวัยเด็กไม่ได้สงบ สันติ จากล่าวอีกว่า"เมื่อเป็นเด็กเลี้ยงช้าง เราต้อง
ระลึกเสมอว่าเราอยู่ในเขตพื้นที่สีแดงใกล้กับชายแดนกัมพูชา ก็จะมีการเตือน
ในช่วงสงครามเสมอที่ได้ยินเสียงเครื่องบินผ่านมา เราก็ต้องหลบหนีระเบิด"
ในช่วงเวลาที่สับสนวุ่นวายนั้น นอกเหนือจากดูแลเก็บเกี่ยวข้าวและกระโดด
ตีลังกาจากหลังช้างลงแม่น้ำ พนมได้พบความสบายใจและหนทางดำเนินชีวิต
จากการชมหนังกลางแปลงของบรูซลี และเฉินหลงในยุคเริ่มแรก (การฉาย
ภาพยนตร์บนแผ่นผ้าใบสีขาวเมื่อคนฉายหนังเข้ามาในหมู่บ้าน) อาจต้องเดิน
ทางไกลนับ10กิโลเมตรเพื่อไปชมภาพยนตร์ จากล่าวอีกว่า"เพราะบรูซลี
และเฉินหลงทำให้ผมตระหนักว่าอยากเป็นดาราหนังศิลปะการต่อสู้ แต่พวก
เขาใช้ศิลปะการต่อสู้แบบกังฟูของจีน ผมอยากแสดงวัฒนธรรมไทยบางสิ่งให้
โลกได้เห็นศิลปะการต่อสู้ของไทย ผมจึงตัดสินใจฝึกฝนมวยไทยโบราณ"

พนมตัดสินใจฝึกฝนอย่างหนักเพื่อเป็นแชมป์ เขาฝึกซ้อมตอนเช้าตั้งแต่ตี 5
จนถึง10โมงเช้า ฝึกซ้อมอีกในตอนเย็นหลังจากโรงเรียนเลิก พ่อของเขาเป็นผู้
ฝึกสอนเพราะเป็นอดีตนักมวย พนมเข้าโรงเรียนในจังหวัดสุรินทร์ตอนอายุ 10
ขวบ ในตอนนั้นเขาพบภาพยนตร์เรื่องเกิดมาลุย(ปี 2522) กำกับโดยพันนา
ฤทธิไกร สตันท์แมนผู้มีชื่อเสียง

หลังจากการเรียนโรงเรียนมัธยมปีที่3 พนมตอนอายุ13-14ปี พนมได้ขอไป
อาศัยอยู่กับพันนา พันนาคิดว่าพนมยังเด็กเกินไป จึงบอกให้กลับไปเรียน
หนังสือต่อจนจบ แต่อนุญาตให้พนมมาฝึกฝนในเวลาว่างได้ พนมได้เรียนรู้
เกี่ยวกับภาพยนตร์และได้ทำงานหลังเวทีหลายอย่างเช่นเด็กเสริฟน้ำ ทำความ
สะอาดอุปกรณ์ ทำครัว ถือร่มให้ช่างกล้อง

ในที่สุด เมื่อเขาอายุได้15ปีพันนารับพนมไว้ในความดูแลและเป็นอาจารย์
พันนา อาศัยอยู่ที่ขอนแก่น จังหวัดที่อยู่บนที่ราบสูงในภาคะวันออกเฉียงเหนือ
พนมเดินทางไปและไปศึกษางานอยู่ที่นั่น เมื่อเขาอายุ 21 ปี พันนาแนะนำให้
เขาไปเรียนต่อที่วิทยาลัยพละศึกษาจังหวัดมหาสารคาม วิทยาลัยที่เชียวชาญ
ในด้านของกีฬา ศิลปะการต่อสู้แทบทุกอย่างมีอยู่ที่นั่น พนมมีบทเรียนเรื่อง
ทักษะการต่อสู้ ให้ศึกษามากขึ้น เช่น เทควันโด้ มวยไทย ดาบไทย กระบี่
กระบอง ยูโด ไอคิโด ยิมนาสติก และอีกหลายอย่าง ฝึกทักษะการแสดงและ
การเป็นสตันท์จากพันนาในทุกๆสับดาห์ที่ขอนแก่น

หลังการฝึกฝนอย่างหนักผ่านพ้นไป พันนาสนับสนุนให้พนมทำงานสตันท์และ
เป็นนักแสดงสมทบในหนังหลายๆเรื่อง ในขณะเดียวกัน พนมพยายาม
ผสมผสานการต่อสู้แบบไทยและยิมนาสติกพื้นฐานเข้าด้วยกัน และเริ่มออก
แสดงเดินสายไปตามโรงเรียนต่างๆ ในฐานะที่เป็นประธานชมรมดาบไทยที่
วิทยาลัย เขาเป็นตัวแทนสาธิตศิลปะของทักษะการต่อสู้ของไทยที่ประเทศจีน
และเป็นตัวแทนสาธิตในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกด้วย พนมได้รับเหรียญ
ทองเสมอในการแข่งขันฟันดาบ ยิมนาสติก และกรีฑาประเภทลู่และลาน
พนมศึกษามวยไทยในช่วงเวลา4 ปีบวกกับการเตรียมตัวแสดงภาพยนตร์เรื่อง
องค์บากอีก 3 ปี การต่อสู้ทั้งหมดไม่ใช้สลิง ตัวแสดงแทน และเอฟเฟกต์ จา
พนม กล่าวปฏิเสธว่า"ผมปฏิเสธการใช้สลิงเพื่อความปลอดภัยเพราะผมอยาก
แสดงให้ผู้ชมเห็นว่ามันเป็นของจริง นำความรู้สึกจากหนังของเฉินหลงในช่วง
ก่อนกลับมา และแสดงทีมสตันท์สู่สายตาของประชาชน นอกเหนือไปจากนี้
การใช้เส้นสลิงเป็นการรบกวนเทคนิคจริง และผมอยากแสดงอีกด้านหนึ่งของ
ศิลปะการต่อสู้ของไทย ไม่ใช่เป็นแค่การต่อสู้บนเวทีอย่างที่ทุกคนเข้าใจกัน"
เมื่อถึงวันนำเสนอภาพยนตร์ องค์บาก ที่โทนี่ จา ทำงานเป็นผู้กำกับคิวบู๊ด้วย
เขากลายเป็นผู้มีชื่อเสียงและเป็นพระเอกนักสู้อันดับหนึ่งของประเทศไทย
เนื้อเรื่องย่อองค์บาก

องค์บาก พระพุทธรูปที่ถูกเก็บรักษาที่วัดแห่งหนึ่งในชนบทของประเทศไทย
ถูกสร้างขึ้นในช่วงสงครามไทย/พม่าเมื่อ200 ปีที่แล้ว ชาวบ้านเชื่อว่าองค์บาก
มีอำนาจที่ทำให้ผู้คนปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง

กลางดึกคืนหนึ่ง ดอน อดีตสมาชิกหมู่บ้าน ได้สั่งให้ลูกน้องตัดเศียร
พระพุทธรูปไปให้หัวหน้าแก๊งค์ ชาวบ้านเห็นว่าการที่เศียรพระถูกขโมยทำให้
เกิดภัยพิบัติ ได้ค้นหาผู้ที่จะไปทวงคืน จึงได้ให้บุรุษหนุ่มนาม ทิ้ง (โทนี่ จา)
เด็กกำพร้าที่อาศัยอยู่ภายในวัด เขาได้เรียนมวยไทยโบราณที่เรียกว่านวอาวุธ
จากพระสงฆ์รูปหนึ่ง

นายทิ้งเดินทางไปยังถนนแห่งหนึ่งในกรุงเทพ เขาพบว่าเศียรองค์บากอยู่ใน
ความครอบครองของคมทวน ทิ้งพบชาวบ้านหนองประดู่อีกคนที่มีชื่อว่าจอร์จ
และ หมวยเล็ก เด็กสาวเร่ร่อน เขาได้ช่วยเหลือทั้งคู่ในภารกิจของเขาการ
ผจญภัยนี้ทำให้เราเห็นว่าพระเอกของเราต่อสู้ด้วยมือเปล่า ต่อสู้กันกลางถนน
และฉากการไล่ล่าโดยใช้รถตุ๊กต๊ก
การที่จะนำเศียรพระพุทธรูปกลับมา ทิ้งถูกบังคับให้ต่อสู้ในเวที่ที่ผิดกฏหมาย
ต่อสู้กับชาวไทยและชาวต่างชาติ ทักษะอันเยี่ยมยอดทำให้เขาเป็นแชมป์และ
เขาได้ตกลงต่อสู้กับนักมวยชาวพม่าเมื่อเขาได้รับคำสัญญาว่าจะคืนเศียร
องค์บาก

ในที่สุดคมทวนได้หักหลังทิ้ง เกิดการต่อสู้ครั้งสุดท้ายในถ้ำระหว่างชายแดน
ไทย – พม่า ทิ้งถูกบังคับให้ใช้พลังความกล้าและความอดทนทั้งหมดในการ
ต่อสู้ตัดสินครั้งสุดท้าย

กุมภาพันธ์ 2548 ภาพยนตร์เรื่อง องค์บาก กลายเป็นเรื่องแรกที่ดึง
ความสามารถของโทนี่ จา และพันนา ฤทธิไกร ผู้กำกับคิวบู้เข้าด้วยกันกำกับ
ภาพยนตร์โดย ปรัชญา ปิ่นแก้ว ประสบความสำเร็จในหลายๆประเทศโทนี่ จา
กลายเป็นกลายเป็นแอกชั่นฮีโร่คนใหม่ในเรื่องมวยไทยสำหรับเด็กๆและผู้ชม
ทั่วโลก เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เขาได้เป็นนายแบบในนิตยสาร GQ เดือน
กรกฎาคม เขาได้รับเลือกให้อยู่ใน"122 คนและสิ่งของที่เรารักในหน้าร้อน"
ความเห็นส่วนตัว: องค์บากได้รับการวิจารณ์เป็นอย่างจรืงจังมากในเรื่องเนื้อหา
นักวิจารณ์หลายท่านเห็นว่าเนื้อหาขององค์บากอ่อนมาก เพื่อนของดิฉันที่เรียก
ตนเองว่าเป็นนักวิจารณ์สมัครเล่นแต่เป็นแฟนคลับของโทนี่จากล่าวกับดิฉันว่า ผมเชื่อว่าผู้ที่ทำภาพยนตร์แนวนี้ไม่ควรใส่ใจเรื่องเนื้อหามากนักไม่ได้
หมายความว่าเนื้อหาไม่สำคัญ แต่ฉากการต่อสู้เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงอย่าง
เท่าเทียมกัน ในความเห็นของผม เนื้อหาขององค์บากไม่ได้เลวร้าย แต่ปัญหา
อยู่ที่ความต่อเนื่องของบท มันไม่ใช่หนังที่ราบเรียบ หลังจากที่ดูมาหลายครั้ง
ผมรู้สึกว่าองค์บากเป็นการนำเสนอศิลปะการต่อสู้ มิใช่หนังศิลปะการต่อสู้
ปัญหาเกิดขึ้นจากว่าฉากต่อสู้ถูกทำขึ้นก่อนเนื้อหา อย่างไรก็ตามเนื้อหาของ
หนังศิลปะการต่อสู้ไม่ใช่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก แต่ถ้ามีความต่อเนื่อง
ก็จะทำให้ดูดีขึ้น เขียนเรื่องราวง่ายๆ แต่ทำให้แน่ใจว่าผู้ชมจะไม่ถามว่าทำไม
หรืออย่างไร ในทางที่น่าสนใจ ภาพยนตร์มีอิทธิพลต่อความรู้สึกของผู้ชม
แน่นอนทำให้คุณเกลียดคนร้ายมากจนจินตนาการไปว่าคุณเข้าไปในภาพยนตร์
แล้วทำร้ายคนเลวเพื่อพระเอกของคุณ นั่นจะเป็นภาพยนตร์แอคชั่นผจญภัยที่ดี
เลยที่เดียว

©2005 Janine Yasovant
©2005 Publication Scene4 Magazinel

Scene4 Renate Stendhal


านีน ยโสวันต์ เป็นอาจารย์และนักเขียน ได้รับปริญญาตรีทางจิตวิทยา และปริญญาโทการบริหารภาครัฐ และยังเป็นผู้อำนวยการของ ICECA ทำงานทางด้านสื่อศิลปะต่างๆ เธอมีความเห็นว่า จิตใจที่เงียบสงบทำให้ทุกสิ่งเป็นไปได
งานเขียนอื่นๆของจานีน ยโสวันต์ คลิกที่Archives

 

 

Cover| This Issue| inFocus| inView| Perspectives| inSight| Qreviews| Letters| Plays&Scripts| Links| Subscribe| About Us| Privacy Policy| Terms of Use| Advertising| Contact Us| ARCHIVES|

Search This Issue

Email This Page

© 2000-2005 Scene4 - International Magazine of Performing Arts, Visual Arts and Media - AVIAR-DKA Ltd - Aviar Media LLC. All rights reserved (including author and individual copyrights as indicated). All copyrights, trademarks and servicemarks are protected by the laws of the United States and International laws. Reproduction in whole or in part without permission is prohibited.