เดอะ
โพรเท็คเตอร์

แอคชั่น
แอคชั่น
และ...
แอคชั่น

จานีน ยโสวันต์

Scene4 Magazine-inView

october 2006

The protector5
คลิกเพื่ออ่านบทความนี้ เป็นภาษาไทย

ผู้ชมชาวอเมริกันต้องรอคอยเป็นเวลานานแรมปีที่จะได้เห็นดาราภาพยนตร์แอคชั่น
ชาวไทยที่มีชื่อว่า โทนี่ จา บนจอฉายหนังผืนใหญ่ เดอะ โพรเทคเตอร์ กำกับการ
แสดงโดย ปรัชญา ปิ่นแก้ว นักวิจารณ์ภาพยนตร์ ซึ่งรู้สึกไม่สบายใจเกี่ยวกับหนัง
ต้นฉบับที่ถูกตัดโดยผู้นำเสนอและจัดจำหน่ายจากฮอลลิวูด ความคิดเห็นโดยรวม
เห็นว่าเนื้อเรื่องไม่ค่อยดี มีการต่อสู้ด้วยมือเปล่าที่รุนแรง และสถิติของ กินเนส บุ๊คมีเสียงหักกระดูกมากที่สุดในบทภาพยนตร์ ยังมีการพากย์ทับแบบยอดแย่ และหนัง
ยังได้เรท R อีกด้วย

ภาพยนตร์ฉายมาเกือบสองปีแล้วทั้งในเอเชียและยุโรปในชื่อ ต้มยำกุ้ง ชาวไทย
และนักวิจารณ์ต่างกังวลเกี่ยวกับการตัดหนัง บริษัท Weinstein และ ผู้นำเสนอ
เควนติน ทารันติโนได้นำหนังไทยเรื่องนี้ที่มีชื่อเดิมว่าต้มยำกุ้ง และตัดทอนจาก
109 นาที่ เหลือ 80นาที เสียดายที่พวกเขาตัดส่วนที่สวยงามของภาพยนตร์ออกไป
ความสัมพันธ์ระหว่างจากับช้างของเขา บริษัท Weinstein ได้เซ็นเซอร์ส่วนที่น่ารัก
ของวัฒนธรรมไทยไปโดยบริบูรณ์

ดิฉันได้ดูภาพยนตร์เรื่อง เดอะ โพรเทคเตอร์ ฉบับดั้งเดิมที่เป็นภาษาไทย และได้
กลับไปดูถึง2ครั้ง แน่นอน ลืมการพล็อตเรื่องไปได้เลย เริ่มแรกเป็นการพรรณนาถึง
วิถีชีวิตอันเรียบง่ายของผู้คนอีสานในประเทศไทย สถานที่จา พนม เกิดและเติบโต
มาพร้อมกับช้างแต่ฉากการต่อสู้ทำได้อย่างยอดเยี่ยม ถ้าคุณชอบหนังแอคชั่นดีๆ
และมีศิลปะการต่อสู้ต่างๆ คุณก็จะรักหนังเรื่องนี้ ดิฉันยังไม่เคยเห็นใครที่
จะเปรียบเทียบกับโทนี่ จา ในตอนนี้ได้ แม้กระทั่งเฉิน หลง หรือเจ๊ท ลี

ภาพยนตร์เรื่องนี้มีฉากการต่อสู้ที่ดีที่สุดเท่าที่ดิฉันเคยเห็นจากภาพยนตร์แนวศิลปะ
การต่อสู้ ดิฉันรู้สึกประหลาดใจและหัวเราะอย่างเป็นสุข มีอยู่ฉากหนึ่งซึ่งท้าทายให้
หาคำอธิบาย ฉากเดียวซึ่งยาวนานถึง5นาที คุณต้องไปชมจอใหญ่ถึงจะได้อรรถรส
เต็มที่สิ่งที่หนังเรื่องนี้ไม่มีคือ สายสลิง สตันท์ และคอมพิวเตอร์ มีเทคนิคการจัด
วางมุมกล้องและการตัดต่อ ทั้งหมดคือสิ่งที่คุณเห็นและสัมผัสได้

เรื่องราววนเวียนซ้ำไปซ้ำมา มีผู้ร้ายลักพาช้างสองเชือกไปจากหมู่บ้าน ชาวบ้านจึง
ส่งขาม(จา พนม)ไปเอาช้างที่ผู้ร้ายพาไปยังซิดนีย์กลับคืนมา ช้างตัวหนึ่งถูกนำไป
ให้ผู้ร้ายคนหนึ่งที่มีชื่อว่ามาดามโรส (Xing Jing) หญิงชาวจีนคนหนึ่งที่ต้องการยึด
ครองอาชญากรรมทั้งหมดในนครซิดนีย์ ได้รับพลังอำนาจจากพิธีกรรมประหลาดซึ่ง
พลังอำนาจจากช้างจะถูกส่งผ่านไปให้เธอ ช้างอีกตัวกำลังจะกลายเป็นเมนูของ
ร้านอาหารใต้ดินซึ่งสัตว์จากที่ต่างๆกันถูกนำมาเป็นอาหารเย็น

ผู้ช่วยเหลือขามเป็นหญิงสาวคนหนึ่ง (บงกช คงมาลัย) ที่เป็นแฟนสาวของ 1 ใน
พวกผู้ร้ายแต่ได้ช่วยขามในภารกิจอันทรงเกียรตินี้ และนายตำรวจนครซิดนีย์ชาว
ไทย (เพชรทาย วงศ์คำเหลา) ตลกชาวไทยที่เคยเล่นเรื่อง องค์บากมาด้วยกัน
แน่นอน ความสัมพันธ์ของขามและผู้หญิงคนนั้นก็มีความเข้มข้นมากขึ้นในต้นฉบับ
และตำรวจคนนั้นก็มีการถูกพากย์เสียงทับเยอะเกินไปในเรื่อง เดอะ โพรเทคเตอร์
ซึ่งเป็นการขโมยจิตวิญญาณของเขาไป (การพากย์เสียงทับดูจะเป็นเรื่องลึกลับใน
ภาพยนตร์เสียงในฟิล์มทั้งหมด)

ท้ายที่สุดแล้ว สิ่งที่หลงเหลืออยู่คือขาม นั่นก็ไม่เลวร้ายแต่อย่างไร มีฉากไล่ล่า
ทางเรือ ฉากระเบิด ขามติดตามคนร้ายเข้าไปในเฮลิคอปเตอร์ ขามถูกโจมตีโดย
เหล่าร้ายที่ขี่มอเตอร์ไซด์ในโกดัง การเผชิญหน้ากับมนุษย์ยักษ์สูงหกฟุตห้านิ้ว
หลายคน และการต่อสู้ในวัดที่ไฟไหม้และมีน้ำท่วมขัง

the protector4

ดิฉันเคยเขียนเกี่ยวกับชีวิตและผลงานของโทนี่ จา ที่ scene4แห่งนี้ในเดือน
กันยายน 2548 และได้ชี้ให้เห็นว่าประชาชนชาวเอเชียกระตือรือร้นมากแค่ไหนใน
เรื่องภาพยนตร์แอคชั่น พวกเขาชอบดูฉากการต่อสู้แม้ว่าจะไม่สมจริงและไม่มี
พล็อต พวกเขายังเต็มใจที่จะมองข้ามจุดอ่อนของหนังเพื่อที่จะดูดาราดังแสดงและ
ดูว่าผู้กำกับฉากต่อสู้จะสร้างความมหัศจรรย์ได้อย่างไร ดิฉันมีเพื่อนคนหนึ่งที่เป็น
อาจารย์สอนเรื่องการเงินในกรุงเทพและก็เป็นผู้ที่ชื่นชอบโทนี่ จา เป็นอย่างมาก
เขารักหนังเรื่องนี้มากจนมองข้ามจุดอ่อนของตัวหนัง และต่อไปนี้คือความคิดเห็นของเขา

มีฉากต่อสู้หลักๆอยู่ 5 ฉาก แต่ละฉากก็มีรูปแบบเฉพาะ ฉากแรกคือฉากที่ต่อสู้ใน
บ้านของนักการเมือง ไปจนถึงการไล่ล่ากันทางเรือ ฉากต่อสู้คล้ายการต่อสู้ในบ้าน
ตอนท้ายของหนังเรื่ององค์บาก แต่ท่วงท่าการต่อสู้ดูดีกว่า ฉากต่อมาคือจา พนม
ต่อสู้กับนักกีฬา x-game จำนวนมากในโรงงาน รูปแบบของการต่อสู้ครั้งนี้
เหมือนกับฉากการไล่ล่าในเรื่ององค์บาก ทักษะความปราดเปรียวของจา ถูก
นำเสนอเอาไว้อย่างชัดเจน ฉากนี้เหมือนเป็นอาหารตาของฉากแอคชั่นเลยที่เดียว
จา พนมไม่เคยหยุดสร้างความประหลาดใจแก่คุณด้วยความเคลื่อนไหวที่ดูเหนือ
มนุษย์ ฉากต่อเนื่อง 4 นาทีน่าจะเป็นฉากที่ด้อยที่สุดในด้านของฉากการต่อสู้ แต่
เป็นการแสดงวิธีการถ่ายทำที่ดีผมรู้สึกชอบในตอนที่จา พนมสู้ตัวต่อตัวกับจอห์นนี่
เพราะการสร้างอารมณ์นั้นยอดเยี่ยมมาก คุณจะรู้สึกถึงความโกรธของขามถ้าคุณ
เป็นเขา และเมื่อโทสะประทุเดือด ว้าว เป็นการแสดงที่ยอดเยี่ยมมาก ฉากที่ต่อสู้ใน
วัดก็สวยงามมาก (ทั้งการต่อสู้และการจัดฉาก)ฉากการต่อสู้ครั้งสุดท้ายดูเหมือนจะ
ไม่จบไม่สิ้น ฉากนี้จะเป็นจุดไคลแมกซ์ของหนังอีกจุดหนึ่ง คุณก็จะได้เห็นท่วงท่า
ต่อสู้ของช้างที่เรียกว่ามวยคชสารที่แท้จริง

สรุปแล้วว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะทำเงินได้ดีในอันดับ Box Office อย่างไม่มีข้อกังขา
แต่ผู้ที่ได้เครดิตคือโทนี่ จา ส่วนอื่นๆ ถูกเพิกเฉยไป จะแย่ก็ตรงที่ว่าเรื่องนี้มี
ศักยภาพพอที่จะเป็นหนังดีทั้งหมดได้ เสียดายว่าท้ายสุดแล้วก็กลายเป็นการใช้
ยานพาหนะในการต่อสู้สำหรับการแสดงภาพยนตร์แอคชั่น และแอคชั่นเท่านั้น

Send Us Your Comments
About This Article

©2006 Janine Yasovant
©2006 Publication Scene4 Magazine

จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย

For more of her commentary and articles, check the
Archives

 

 

 

Scene4 Magazine-International Magazine of Performing Arts and Media

october 2006

Cover | Contents | inFocus | inView | reView | inSight | Plays | Qreviews | Letters | Links Advertising | Special Issues | Subscribe | Privacy | About | Terms | Contact | Archives
Search This Issue Email This Page

Scene4 (ISSN 1932-3603), published monthly by Scene4 Magazine - International Magazine of Arts and Media - 6920 Roosevelt Way NE, Seattle, WA 98115. Copyright © 2000-2006 AVIAR-DKA Ltd - Aviar Media LLC. All rights reserved (including author and individual copyrights as indicated). All copyrights, trademarks and servicemarks are protected by the laws of the United States and International laws. No part of this issue may be reproduced or transmitted in any form or by any means, electronic or mechanical, including photocopying and recording for public or private use, or by any information storage or retrieval system, without the prior written permission of the publisher.