พระจันทร์
พเนจร

ทิศทาง
แห่ง
ละครเงา

จานีน ยโสวันต์

หลักสำคัญพื้นฐานของการแสดงละครเวทีคือการแสดง ไม่ใช่แค่การบอกเล่า
ละครเงาที่มีพื้นฐานมาจากภาพจินตนาการก็เป็นเช่นนั้น และเป็นมากกว่านั้น
ผู้แสดงหลักคือหุ่น แสงไฟที่ส่องสว่างจากด้านหลัง ได้สร้างภาพที่ประกอบขึ้นเป็น
ฉากของเรื่องราว และมักจะมีดนตรีประกอบด้วย นี่เป็นรูปแบบอันเก่าแก่ของละคร
ซึ่งหยั่งรากลึกมาตั้งแต่อารยธรรมในสมัยโบราณ เช่นเดียวกับศิลปะการแสดง
ทุกอย่าง ละครเงาก็เป็นเป็นวิถีทางที่นำเสนอความลี้ลับแห่งชีวิต ปัญหาต่างๆ
ความหวัง ความฝัน และความสุขของการมีชีวิตอยู่

ในทวีปเอเชียก็มีประเพณีแบบนี้มานานและประเทศไทยมีกลุ่มละครเงา
 พระจันทร์พเนจร ถ้าจะเรียกให้ถูกต้องมากกว่านี้ก็คือ กลุ่มละครเงาพระจันทร์
พเนจรและการเดินทางอันไม่สิ้นสุด เป็นชื่อที่มีความหมายสำหรับกลุ่มละครที่
ก่อตั้งขึ้นเมือปีพ.ศ. 2542 ในจังหวัดเชียงใหม่ ทำงานเพื่อพัฒนาละครเงาร่วมสมัย
ให้เป็นรูปแบบศิลปะและเป็นสื่อกลางเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมโดยเน้นเรื่อง
สภาพแวดล้อมเป็นสิ่งที่ท้าทายมากเพราะทางคณะได้นำละครเงา ภาพยนตร์
บทเพลง หุ่นต่างๆมาผสมผสานกันโดยไม่มีบทพูดและคำบรรยาย

ไม่นานมานี้ดิฉันได้มีโอกาสไปชมการแสดงนิทานจากสายน้ำ
(A Walking River Tale)ใต้ร่มไม้ในจังหวัดเชียงใหม่ หลายครอบครัวพาบุตรหลาน
มาที่นี่ ชาวไทยและชาวต่างชาตินักศึกษาในเครื่องแบบ ผู้สูงอายุแต่งกายแบบ
ล้านนา ดิฉันรู้สึกประหลาดใจ ผู้คนมาชมค่อนข้างมาก วงดนตรีบรรเลงเพลงไป
เรื่อยๆก่อนที่ผู้ชมจะนั่งลงบนเสื่อที่ปูบนพื้นหญ้า

เรื่องเล่าจากริมฝั่งโขงเป็นแสดงภาพการต่อสู้ของพญานาคและพญาครุฑซึ่งเป็น
สัตว์ในเทพนิยาย และใช้สัญลักษณ์บอกเล่าสภาพของแม่น้ำโขง สะท้อนภาพ
ความเชื่อและความศรัทธาในสายน้ำและความเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบมาจาก
เศรษฐกิจของประเทศ ตัวตนทางวัฒนธรรม และการค้าเสรี มันเป็นการแสดงที่ร่วม
สมัยและทรงพลังของเทพนิยายเกี่ยวกับพญานาคที่เป็นสัญลักษณ์แทนชาวบ้านริม
ฝั่งแม่น้ำโขงและพญาครุฑที่เป็นสัญลักษณ์แทนเจ้าหน้าที่ของรัฐ

ก่อนการแสดงจะเริ่มต้นขึ้น ดิฉันได้มีโอกาสสนทนากับคุณมณฑาทิพย์ สุขโสภา
ผู้ก่อตั้งและผู้กำกับศิลป์ของคณะพระจันทร์พเนจร ซึ่งมีใจความสำคัญดังนี้

จานีน: คุณจะจัดตั้งเวทีการแสดงของคุณที่ไหน

มณฑาทิพย์: เวทีของละครเงา ถ้าพวกเรามีโอกาสเลือก น่าจะเป็นคืนที่ไม่มีฝน
ใช้เวทีกลางแจ้ง ที่ผู้คนนั่งบนผืนเสื่อ ถ้าอากาศไม่เหมาะสมกับการแสดงกลางแจ้ง
พวกเราอาจเลือกหอศิลป์หรือหอประชุมของมหาวิทยาลัย หรือเวทีละครขึ้นอยู่กับ
เวลาและโอกาส เมื่อเรามาถึงก็ทำงานร่วมกันกับเจ้าของสถานที่ เชิญคนมาศึกษา
งานกับเรา ในช่วงกลางวันเราก็มอบโอกาสให้กับเด็กๆที่ต้องการมี่ส่วนร่วมใน
กิจกรรมทุกครั้ง เรื่องเล่าริมฝั่งโขงและนิทานจากสายน้ำก็ได้รับความนิยมอย่างมาก
การแสดงของพระจันทร์พเนจรเป็นทั้งงานร่วมสมัยและงานนามธรรม ชุดบทเพลง
แสดงอารมณ์ถูกนำมาเล่นทดแทนบทสนทนา ลักษณะนี้แตกต่างไปจากละครแบบ
ดั้งเดิม เหมือนเป็นภาพยนตร์การ์ตูน เต็มไปด้วยสีสัน ความเร็ว เป็นหน้าต่างไปสู่
มุมมองชีวิตที่แตกต่างไปจากเดิม พวกเราเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ผู้คนที่
เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเข้าชมการแสดงโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การแสดงมีขึ้นหลาย
รอบในประเทศไทย หลายๆจังหวัดของประเทศไทยที่อยู่ใกล้แม่น้ำโขง แม่น้ำ
ที่ไหลเย็น สะท้อนภาพก่อนที่พระอาทิตย์จะลาลับขอบฟ้า

ทีมงานของเราได้ไปแสดงในหลายๆ ประเทศเช่น ฟิลิปปินส์ ลาว บังคลาเทศ
กัมพูชา กิจกรรมของเรามอบความรู้ให้กับเด็กๆและผู้ใหญ่ที่มีความหลงใหลใน
ละครเงาและจินตนาการอันไร้ขีดจำกัด ผู้ชมมารวมตัวกันอยู่หน้าจอหนังขนาด
4.5 x 4 เมตรเช่นเดียวกับหนังกลางแปลง นี่เป็นกิจกรรมที่เราคุ้นเคยเพราะวิถีทาง
ของชีวิตชนบทในเอเชียนั้นเคยชินกับภาพยนตร์ที่แสดงในลานวัด ในโรงเรียนหรือ
นอกเมือง

จานีน: คุณมาเกี่ยวข้องกับละครเงาไทยได้อย่างไร

มณฑาทิพย์: นี่เป็นความสัมพันธ์ที่เข้มแข็ง ในฐานะที่เป็นผู้ก่อตั้งคณะละครเงา
ร่วมสมัยในประเทศไทย พวกเราไม่เคยละลายตาไปจากประวัติของละครเงาแบบ
ดั้งเดิมของภาคกลางและภาคใต้ของไทย อันดับแรกคือหนังใหญ่ การแสดงชั้นสูง
ของภาคกลาง มีข้อมูลอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ย้อนไปถึงตอนต้นยุคสมัยสุโขทัย
อาณาจักรสุโขทัยเคยเป็นศูนย์กลางของประเทศไทย

มหากาพย์รามายณะหรือรามเกียรติ์ที่มีตัวละครมากกว่า 300 ตัว ทำจากหนังโค
กระบือที่ถูกฉลุเป็นรูปยักษ์ มนุษย์และวานร พวกเราทราบว่าหนังใหญ่นั้นมีการเล่น
เพื่อชนชั้นสูงและพระราชวงศ์ สิ่งที่จำแนกว่าหนังใหญ่เป็นความบันเทิงชั้นสูงก็คือ
หนังกระบือแกะสลักเจาะรูเป็นรูปตัวละครจากมหากาพย์รามเกียรติ์ การแสดงและ
การเคลื่อนไหวของยักษ์ มนุษย์ และวานรมีบทบาทสำคัญ มีการใช้เครื่องดนตรี
พิเศษ มีการใช้โคลงกลอนเล่าเรื่อง เรียกว่า "ร่าย"และผู้ชมก็คุ้นเคยกับเรื่อง
รามเกียรติ์ แต่เดิมแล้วมหากาพย์รามเกียรติ์ไม่ได้มาจากวัฒนธรรมไทย แต่เรื่องนี้
ตัวมีความเกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ พระรามและนางสีดาที่เป็น
ตัวเอกของเรื่องก็เป็นที่คุ้นเคยในวัฒนธรรมไทย ดิฉันได้ไปศึกษาหนังใหญ่ใน
หลายๆวัดก็พบว่าผู้หญิงไม่ได้รับอนุญาตให้เชิดหนังใหญ่ พระสงฆ์ที่นั้นได้อธิบาย
ประวัติหนังใหญ่ให้กับกลุ่มผู้ฟัง ดิฉันยังได้เห็นการย่างก้าวและการเคลื่อนไหวของ
ตัวแสดงที่ทราบว่าโรงละครภัทราวดี ในกรุงเทพฯ มาฝึกท่าทางให้

อย่างที่สองคือละครเงาแบบดั้งเดิมของชาวบ้านภาคใต้ของประเทศไทย เรียกว่า
หนังตะลุง เป็นรูปแบบศิลปะที่ใช้เพื่อการเฉลิมฉลองและเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต
ภาคใต้ ใช้หนังสัตว์เชิดช่นกัน มีตัวเอก ตัวตลก 15 ตัว พระฤๅษี และยักษ์
เนื้อเรื่องมีพื้นฐานมาจากชีวิตชนบท เสียดสีการเมืองและสังคม และยังเป็นสื่อกลาง
บอกข้อมูลด้านสุขภาพและชุมชนโดยใช้ภาษาถิ่นภาคใต้

หลังจากที่ดิฉันสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็ไปเข้าร่วมกับคณะ
ละครชุมชนที่เรียกกันว่า"กลุ่มมะขามป้อม"เป็นอาสาสมัครสำหรับโครงการสื่อ
ขนาดเล็กเพื่อคนรากหญ้า เริ่มต้นด้วยหุ่นมือใช้เป็นเครื่องมือช่วยสอนใน
ปี พ.ศ. 2540 พวกเราก็เริ่มสร้างละครเงาขึ้นมา และดิฉันก็ยังเป็นอาสาสมัครของ
ศูนย์สตรีศึกษาเพื่อฝึกความเป็นผู้นำของสตรีและดิฉันเคยเป็นนักแสดงอิสระ ในปี
2542 และได้ก่อตั้งคณะการแสดงพระจันทร์พเนจรและการเดินทางที่ไม่สิ้นสุด
ทำงานกับองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรหลายแห่งในการรณรงค์ในชุมชนเพื่อความ
หลากหลายของประเด็นในสังคม

จานีน: แล้วละครเงาในประเทศอื่นๆ เป็นอย่างไรบ้างคะ

มณฑาทิพย์: ในเอเชียมี วายังกูลิตละครเงาที่สวยงามจากประเทศอินโดนิเชียและ
อินเดีย จีนก็มีละครเงาแบบสั่น สองปีที่ผ่านมาพวกเรามีโอกาสเข้าร่วมเทศกาล
ละครเงานานาชาติ ที่เมือง SchwaebischGmund ประเทศเยอรมนีพวกเขามีการ
แสดงหลากหลายชนิดเช่น หุ่นเงาจากร่างกายและมือ ละครเงาพื้นบ้าน ละครเงา
อิงเทพนิยาย เรื่องเหนือธรรมชาติ และเรื่องโบราณจากอิตาลี

เมื่อดิฉันได้มีโอกาสเห็นละครเงาร่วมสมัยหลายๆอย่างก็รู้สึกมีความมั่นใจในการ
แสดงของพวกเราเพราะมีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นนิทานที่สำคัญเกี่ยวกับ
การอนุรักษ์ธรรมชาติ วันที่ 16-21 ตุลาคม พ.ศ 2549 คณะพระจันทร์พเนจรจะไป
ยังเยอรมนี ละครเงาและบทเพลงเป็นจุดสำคัญของเทศกาลปีนี้ งานเทศกาลจะเน้น
ในเรื่องนักแสดงละครเงาสามารถเปลี่ยนบทเพลงให้กลายเป็นภาพได้อย่างไรและ
ละครเงาจะเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นและน่าสนใจเป็นพิเศษ

จานีน: ทำไมละครเงาจึงเป็นรูปแบบศิลปะที่สำคัญในความตั้งใจของคุณ

มณฑาทิพย์: เพราะว่าในเวลาเดียวกันนั้นวิธีการแสดงออกแบบเก่าและใหม่
หลายๆวิธี การพัฒนาสื่อทางเลือกจึงได้รับการพิจารณาให้เป็นเครื่องมือหลัก
สำหรับองค์กรรัฐบาลและเอกชน ถ้าไม่มีการพัฒนาสื่อทางเลือกก็จะไม่มีเครื่องมือ
ที่หลากหลายที่จะปรับใช้กับกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน องค์กรหลายแห่งเน้นไป
ที่ข้อมูลและเนื้อหาและมันเกิดขึ้นว่าพวกเขาสนับสนุนเป็นอย่างมากไม่เหมือนกับผู้
ที่เน้นด้านเครื่องมือ คนหลายคนคิดว่าเครื่องมือไม่สำคัญเท่ากับเนื้อหา อย่างไรก็
ตามข้อเท็จจริงที่ว่าข้อมูลที่ดีและเข้าถึงได้มาจากวิธีการที่มีความหมาย

ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว... มีผู้หญิงคนหนึ่งหลงรักเงาครั้งแรกที่ส่งสายตาไปหาเงา
วันแล้ววันเล่า คืนแล้วคืนเล่าที่เธอเดินทางไปกับหุ่นเงา ผู้คนเริ่มเรียกเธอว่า
"ป้าทิพย์"ในการเดินทางเธอก็ได้พบผู้คนที่เดินทางเช่นเดียวกับเธอ พวกเขามา
รวมตัวกันแล้วเรียกตัวเองว่า"พระจันทร์พเนจรและการเดินทางที่ไม่สิ้นสุด"
พระจันทร์เลยกลายเป็นการแสดงพิเศษที่เรียกว่าละครเงา มีการกล่าวไว้ว่าเงามี
ชีวิต เมื่อพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าและพระจันทร์ลอยขึ้นมา บางครั้งความสนุกสนานก็
ออกมาจากหน้าจอ บางครั้งความโศกเศร้าก็รอคอยการค้นพบ การแสดงทุกชิ้นของ
พวกเขามีเรื่องราวที่ทำให้ผู้คนสงสัยและทำให้พวกเขาดำเนินการเดินทางต่อไป
ละครเงาร่วมสมัยยังเป็นวิทยาศาสตร์และศิลปะที่มีความลึกลับ แม้ว่าหลายคนจะ
เคยเห็นมาแล้ว ความลึกลับก็ยังดึงดูดให้คนเข้ามาใกล้มากขึ้นจนกระทั่งพวกเขา
รู้สึกถึงเวทมนตร์ได้ด้วยตัวของพวกเขาเอง

ละครเงาให้อิสรภาพในการจินตนาการ ไม่มีการแสดงใดๆที่พิสูจน์อย่างแน่ชัดตามที่
อังตวน เดอซองท์เอซูเพอรี นักประพันธ์เรื่องเจ้าชายน้อยเคยกล่าวไว้ว่า"สิ่งที่
สำคัญนั้นจะมองไม่เห็นด้วยตา"ทุกครั้งที่พวกเราแสดงละครเงา ปาฏิหาริย์หลาย
อย่างเกิดขึ้นกับผู้แสดงและผู้ชม มีคำถามเป็นพันที่พวกเราไม่สามารถหาคำตอบ
ความอยากรู้อยากเห็นของเด็กและผู้ใหญ่ทำให้พวกเขาไปหลังเวทีหลังการแสดง
จบลง เพื่อมองเห็นว่าเวทมนตร์ใดซุกซ่อนอยู่หลังจอสีขาว ในการแสดงทุกครั้ง สิ่ง
หนึ่งที่ไม่ถูกลืมคือเงามีชีวิตของมันเองแม้ว่ามันจะถูกสร้างโดยคนและความจริง
หลังความงามเช่นนี้ที่จริงแล้วเป็นกระดาษชิ้นบางๆ หุ่นทุกตัวมีวันสิ้นอายุ การ
เดินทางทุกครั้งที่เราไปนั้นบอกความจริงว่าวันหนึ่งสิ่งที่เราเห็นจะจากไป วันหนึ่ง
คุณจะไม่เห็นมันอีกแล้ว คุณอาจจะคิดถึงการแสดงครั้งสุดท้ายบนหน้าจอ แม้ว่าเงา
แบบเดียวกันจะถูกสร้างขึ้นแต่ก็ไม่เป็นเหมือนเดิม

สิ่งเดียวที่เหลือไว้เบื้องหลังคือความทรงจำและสิ่งที่เรารู้สึกคือหัวใจของเรา
หุ่นทุกตัวมีเงาที่ต่างกันไปเหมือนกับผู้สร้าง... ในการประชุมสาธิตละครเงา หุ่นที่น่า
เกลียดที่สุดกลายเป็นสิ่งที่สวยงามที่สุดในโลกของเงาอย่างไม่น่าเชื่อ... เด็กที่ขี้
อายที่สุดกลายเป็นนักเชิดหุ่นที่กระปรี้กระเปร่าเต็มหัวใจที่สุด มีความรู้สึกถึงสิ่งที่อยู่
ในมือของพวกเขา ในการเดินทางหลายครั้ง แสงและเงาทำให้ผู้ชมต้องมนตร์สะกด
นี่คือสิ่งที่แสนวิเศษในการเล่าเรื่องของละครเงา นักเชิดหุ่นและผู้แสดงอยู่ในพื้นที่
อันลึกลับ พวกเราเดินทางไปไกลแล้วก็ยังเห็นว่าโลกแห่งละครเงาได้สร้าง
ความหมายใหม่ให้กับเวที และมีหลายสิ่งหลายอย่างที่จะต้องถูกค้นพบ
ผู้ที่ใช้หัวใจก็จะได้ไปอยู่ที่นั่น

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมที่
www.wanderingmoontheatre.com

All images-Courtesy of 'Aunty Tip'

Send Us Your Comments
About This Article

©2006 Janine Yasovant
©2006 Publication Scene4 Magazine

จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย

For more of her commentary and articles, check the
Archives

 

 

 

Scene4 Magazine-International Magazine of Performing Arts and Media

september 2006

Cover | Contents | inFocus | inView | reView | inSight | Qreviews | Letters | Links Advertising | Special Issues | Subscribe | Privacy | About | Terms | Contact | Archives
Search This Issue Email This Page

 

Scene4 (ISSN 1932-3603), published monthly by Scene4 Magazine - International Magazine of Performing Arts and Media - 6920 Roosevelt Way NE, Seattle, WA 98115. Copyright © 2000-2006 AVIAR-DKA Ltd - Aviar Media LLC. All rights reserved (including author and individual copyrights as indicated). All copyrights, trademarks and servicemarks are protected by the laws of the United States and International laws. No part of this issue may be reproduced or transmitted in any form or by any means, electronic or mechanical, including photocopying and recording for public or private use, or by any information storage or retrieval system, without the prior written permission of the publisher.