sc4-962-3d
Noppanan Thannaree - Arts of Thailand | Janine Yasovant | Scene4 Magazine | October 2016 |  www.scene4.com

จานีน ยโสวันต์

ดิฉันไปเยี่ยมชมสตูดิโอสุริยันจันทราอีกครั้งหนึ่งในเดือนกันยายน พ.ศ. 2559
หลังจากที่ทราบว่าสถานที่แห่งนี้จะปิดตัวลงอย่างถาวร ครั้งนี้ดิฉันได้เห็นภาพวาด
ขนาดใหญ่บนฝาผนัง ภาพวาดนี้เขียนขึ้นโดยใช้กระดาษเยื่อไผ่ ดินสอ และปากกา
หมึกดำ ดิฉันทราบว่าใครเป็นผู้วาดภาพนี้เพราะดิฉันเคยเห็นผลงานของเขาในงาน
นิทรรศการที่กรุงเทพเมื่อปีที่แล้ว ศิลปินผู้วาดคือคุณนพนันท์ ทันนารี เป็นศิลปิน
อิสระ
 

เมื่อไม่นานมานี้ดิฉันได้สนทนากับคุณนพนันท์เกี่ยวกับการเดินทางไปยัง
สหรัฐอเมริกา เขาพูดเกี่ยวกับการเดินทางไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์หลายแห่งที่นั่น
คุณนพนันท์เกิดที่จังหวัดเชียงราย จบการศึกษาปริญญาตรีและปริญญาโทจาก
มหาวิทยาลัยศิลปากร แต่มีสตูติโอทำงานในจังหวัดนครปฐม ภาคกลางของ
ประเทศไทย ในช่วงการเดินทางไปยังอเมริกาเขาได้ถ่ายภาพพิพิธภัณฑ์และงาน
นิทรรศการศิลปะที่เขาไปเยี่ยมชม เขาให้ดูภาพบางส่วนที่เขาได้ถ่ายไว้ในระหว่าง
การเดินทาง เขาบอกกับดิฉันว่าเขาสนใจในผลงานของ อเมดีโอ โมดิกลิอานิ
 

ต่อไปนี้เป็นบทสัมภาษณ์กับคุณนพนันท์
 

IMG_2818-cr

 

จานีน: ช่วยเล่าถีงผลงานศิลปะที่คุณสร้างสรรค์ในมุมมองของคุณ
 

นพนันท์: ประสบการณ์ในชีวิตนับตั้งแต่จำความได้จนถึงปัจจุบันนั้นส่งผลต่อการ
สร้างสรรค์งานศิลปะของผมอย่างมาก แต่ไม่ว่าชีวิตจะก้าวผ่านเรื่องราว
ประสบการณ์มามากน้อยเพียงใด ท้ายที่สุดแล้วกระบวนการทำงานศิลปะจะเป็นตัว
คัดกรองความคิดความรู้สึกที่ฝังอยู่เบื้องลึกในใจให้ออกมาได้อย่างน่าทึ่งไม่ว่ามัน
จะเป็นสิ่งธรรมดาที่สุดก็ตาม ซึ่งสิ่งที่เป็นเนื้อหาในงานของผมเป็นเรื่องสามัญล้วน
แล้วแต่มีต้นตอมาจาก วิถีชีวิต ความอบอุ่น ครอบครัว ความรู้สึกจากธรรมชาติ
รอบตัว แสดงออกผ่านความหยาบรุนแรงเคลื่อนที่พัฒนาสู่ความประณีตจนเห็น
ความสงบที่มีอยู่ในจิตใจ ซึ่งในแต่ละช่วงประสบการณ์ของชีวิตนั้นมีความแตกต่าง
กันไป มีลักษณะความหยาบและปราณีตและอารมณ์ความรู้สึกไม่เหมือนกัน
แล้วแต่แรงบันดาลใจในช่วงเวลานั้นๆ
 

ความรู้ความเข้าใจในปรัชญาทางตะวันออกโดยเฉพาะปรัชญาทางพุทธศาสนาก็มี
ความสำคัญสำหรับผมยากที่จะปฏิเสธได้ และไม่ว่าผมจะมีปัจจัยจากสิ่งใดรอบตัวก็
ตามมักจะเชื่อมโยงถึงองค์ความรู้ทางด้านปรัชญาที่ว่านี้โดยอัตโนมัติ ยกตัวอย่าง
เช่น ครั้งหนึ่งผมเคยเห็นดอกบัวที่แห้งเหี่ยวตาย สำนึกบางอย่างก็ทำให้จิตคิดไป
ถึงความไม่เที่ยงเกิดการพิจารณาและทำความเข้าใจเชื่อมโยงกับประสบการณ์ชีวิต
ที่เคยสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักและมิตรสหายและวางความเศร้าโศกนั้นลงได้ด้วย
สติ และอนุสติอีกส่วนหนึ่งก็พลันให้เชื่อมโยงไปถึงความงามในปรัชญา วะบิ-ซะบิ
ของญี่ปุ่นที่บ่งบอกถึงความเรียบง่ายในองค์ประกอบความงามบนพื้นฐานของความ
ไม่เที่ยงของสรรพสิ่งและเยินยอความงามในแสงสลัว สิ่งเหล่านี้นำมาซึ่งการเกิด
จิตนาการของผม เป็นต้น หากดูภาพรวมของผลงานของผมที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน
แล้วน่าจะบอกได้ว่าความสงบนั้นครอบคลุมคอนเซ็ปต์ทั้งหมด ลักษณะงานจึง
แสดงออกถึงความสุขุม อ่อนน้อมถ่อมตน รักษาสุนทรียะในความธรรมดาสามัญ
ของตัวรูปแบบเนื้อหาและอารม์ความรู้สึกไว้ ซึ่งเนื้อหานี้อาจเปลี่ยนแปลงไปตาม
สภาวะนั้นๆ และจะก้าวย่างไปทีละนิด และจะไม่ก้าวกระโดด ผลงานส่วนใหญ่จึงยังอยู่ในลักษณะของทิวทัศน์ทางธรรมชาติ จะมีความแตกต่างของสัญลักษณ์และ
มุมมองบ้างตามแต่จินตนาการในช่วงเวลานั้นๆ
 

Tranquility-Place-(B),-67-c

 

งานของผมส่วนใหญ่เป็นงานวาดเส้นและจิตรกรรมสีอะคริลิคซึ่งตนเองมีความถนัด
เนื่องจากใช้เวลาเรียนรู้และปฏิบัติฝึกฝนมานาน เหตุผลอีกประการก็คือผมเห็น
ความพิเศษของสื่อที่อยู่บนระนาบ2มิติ ซึ่งสามารถประจุทัศนธาตุที่ทรงพลังได้โดย
ไม่ต้องอาศัยความซับซ้อนในกระบวนการมากมาย แรงบันดาลใจสำคัญนั้นคือชีวิต
และความงามแห่งปัญญา เป็นสุนทรียภาพที่เป็นไปเพื่อชีวิตที่ดีของตัวผมในถานะ
ของผู้สร้างสรรค์รวมไปถึงผู้ที่ได้พบเห็นผลงานของผมด้วย ถึงแม้ว่างานศิลปะที่
ผมทำนั้นจะมีต้นตอทางความคิดและเหตุปัจจัยทางความรู้สึกมาจากชีวิตของผม
เพียงผู้เดียวก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ตั้งใจที่จะครอบงำผู้อื่นให้คิดหรือรู้สึกเหมือนกับผม
ทุกประการ ผู้ดูสามารถสำรวจรายละเอียดและพิจารณาผลงานโดยรวมแล้วเกิด
จินตนาการหรือความคิดที่แตกแขนงแยกออกไปได้ไม่รู้จบ สิ่งนี้นี่เองทำให้ผมรู้สึก
ว่าเป็นความงดงามของศิลปะ

 

จานีน: มีแรงบันดาลใจอะไรบ้างที่ทำให้คุณหันมาเป็นศิลปินอาชีพอย่างเต็มตัว
 

นพนันท์: ผมเคยคิดไว้ถ้าเรียนจบแล้วก็จะทำงานศิลปะที่ชอบเลยเพราะผมไม่
อยากสูญเสียความต่อเนื่องไป ลำพังเพียงแค่งานที่ทำตอนเรียนมาจนถึง
วิทยานิพนธ์นั้น ส่วนตัวแล้วยังอยากจะพัฒนาต่อ มีความคิดในสมุดสเก็ตช์อีก
เยอะแยะมากมายที่ผมบันทึกไว้แต่ยังไม่ได้ทำก็เลยตัดสินใจทำมันต่อซะเลยครับ
เงินที่เก็บไว้จากการขายงานได้ตอนเรียนก็พอมีเหลืออยู่ให้พอใช้ชีวิตได้อย่างไม่
ฟุ่มเฟือย ที่จริงแล้วในขณะนี้ผมก็ยังพูดไม่เต็มปากนะครับว่าตนเองเป็นศิลปิน
อาชีพแล้ว ผมจะยังไม่เรียกว่าเป็นอาชีพ เพราะนับเวลาแล้วผมได้เข้ามาสัมผ้ส
ศิลปะจริงๆจังๆนับช่วงเรียนด้วยรวมแล้วก็แค่13ปีมานี่เอง  สำหรับผมมันยังละอ่อน
มาก
 

DSC_0292-cr2

 

ตอนนี้ผมรู้สึกว่ามันเป็นการเรียนรู้กระบวนการ เริ่มตั้งแต่การสร้างสรรค์ ไปจนถึง
เรียนรู้ระบบต่างๆที่อยู่ในวงการศิลปะและสังคมว่ามีเหตุปัจจัยใดบ้างที่จะทำให้
ผลงานเราพัฒนาไปในแบบที่มันควรจะเป็น และสามารถอยู่ในกระแสแวดวงของ
สังคมศิลปะได้ด้วยวิธีใดบ้าง เพียงแต่หน้าที่ของเราเราเป็นคนกำหนดเองและมี
อิสระที่จะตัดสินใจพอๆกับการรับฟังผู้อื่นที่เข้ามาแนะนำด้วย แต่สิ่งสำคัญที่จะขาด
ไปไม่ได้นั่นคือความศรัทธาว่าเราทำได้! มันน่าจะเป็นไปได้ และมันค่อยๆพิสูจน์ที
ละนิดๆมาเป็นลำดับบ้างแล้ว แม้ว่าความสำเร็จในเรื่องรางวัลและชื่อเสียงต่างๆผม
แทบนับได้ว่าห่างชั้นศิลปินหลายๆคนก็ตาม แต่ผมก็อยู่ได้เพราะความจริงใจและ
ผลิตผลงานอย่างต่อเนื่อง และที่ผ่านมาก็มีผู้ใหญ่บางท่านเห็นความมุ่งมั่นในตัว
ผลงานของผม จึงให้การสนับสนุนในการทำนิทรรศการเดี่ยวของตัวเองเป็นครั้ง
แรกในชุด “บรรยากาศแห่งความสงบ”(The Tranquility of Mind) ในช่วงปลาย
ปี2014 และกำลังจะมีนิทรรศการเดี่ยวครั้งที่สองในชุดผลงานที่ชื่อว่า
“สัจจะ-สามัญ” (Simple-Truth) ที่กำลังจะเกิดขึ้นช่วงต้นปี2017 นี้ด้วยอีกครับ
 

Tranquility-Place-(B),-67-c

 

ผมมีความสุขในขณะทำงาน คนที่มาสนับสนุนผมแม้เป็นจำนวนที่ยังไม่มากแต่ก็
ล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลที่รักงานของผมจริงๆผมดีในในจุดๆนี้ครับ และมันทำให้ผม
อยู่ได้ หากจะถามว่าแรงบันดาลใจของผมคืออะไร? ขณะนี้ผมขอตอบแบบสรุปว่า
มันคือ “ผมอยากที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปโดยทำหน้าที่ของเราให้เต็มที่ที่สุดครับ”
 

จานีน: เล่าถึงประสบการณ์ในการเดินทางไปชมพิพิธภัณฑ์ที่ผ่านมา คุณอยากบอก
อะไรกับเพื่อนศิลปินและผู้อ่าน เพราะดูเหมือนว่าจะเป็นการเดินทางโดยลำพัง และ
คุณตั้งใจไปชมอย่างมาก
 

นพนันท์: ผมเคยสัญญากับตัวเองไว้ว่าสักวันหนึ่งในชีวิตนี้จะต้องได้เห็นผลงาน
ศิลปะมาสเตอร์พีชในพิพิธภันฑ์ระดับโลกให้ได้ และผมจะไม่รอให้ผมแก่ซะก่อน
ลองคิดเล่นๆดูนะครับว่าถ้าหากผมเก็บเงินไปดูงานต่างประเทศในตอนนี้คืออายุ
ยี่สิบปลายๆ ผมก็จะมีไฟและมุมมองที่กว้างขึ้นจากการเดินทางวัยหนุ่มสามารถเก็บ
แรงบันดาลใจและองค์ความรู้จากการชมงานศิลปะระดับโลกกลับมาทำงานได้อีก
อย่างน้อยอีก50-60ปีหากมีอายุยืนนะครับ แรงผลักดันจากการอ่านหนังสือและ
ความสนใจช่วงเรียนวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ในมหาวิทยาลัยเป็นสิ่งที่ทำให้คิดว่า
เพียงแค่อ่านและเห็นผลงานระดับโลกจากหนังสือมันไม่เพียงพอสำหรับผม ก็คิด
ง่ายๆแบบนี้เลย ไม่มีอะไรซับซ้อน เหตุผลอีกประการคือย้อนกลับไปเมื่อสามปีที่
แล้วมีสามีภรรยาชาวอเมริกันคู่หนึ่งได้ซื้อผลงานของผมกลับไปและสองปีให้หลัง
เขาก็ส่งอีเมลกลับมาให้ทราบว่างานของผมได้เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวเขาแล้ว
ซึ่งอยู่ที่เมืองซานดิเอโก้ รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งบังเอิญว่าเป็นเมืองเดียวกันกับบ้าน
ของคุณป้าของผมที่ย้ายไปอยู่ที่นั่นเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว มันเป็นความบังเอิญที่ไม่น่า
เชื่อและน่ายินดีเอามากๆ ผมเลยคิดว่าสหรัฐอเมริกาน่าจะเป็นประเทศแรกที่น่าจะ
เป็นไปได้มากที่สุดสำหรับเดินทางไกลตามความฝันเรื่องงานศิลปะ เยี่ยมคุณป้า
และได้พบกับผู้ใหญ่ที่เคยสนับสนุนผลงานของผมทั้งสองท่านนั้นด้วย แต่ที่สำคัญ
คือครั้งนี้เป็นการเดินทางไปพร้อมทักษะทางภาษาอังกฤษที่งูๆปลาๆ ถึงแม้จะรู้สึก
ประหม่าเอามากๆแต่เมื่อพบเจอชาวต่างชาติที่นั่นกลับไม่เคยมีแม้แต้คนเดียวที่ล้อ
หรือตำหนิเราเรื่องภาษาเลยแต่กลับมีน้ำใจช่วยแนะนำในการใช้ภาษามากกว่า ทำ
ให้ผมมีกำลังใจในการเดินทางครั้งนี้
 

DSC_0219-cr

 

ผมนัดกับเพื่อนชาวอเมริกันคนนึงใน LA เพื่อชมพิพิธภัณฑ์ ได้แก่ Hummer
Museum Getty Museum LACMA MOCA LA Huntington Library Art
Collections and Botanical Gardens ที่ซานมาริโน่, Norton Saimon Art
Museum ที่พาซาดิน่า การเยี่ยมชมตามรายชื่อพิพิธภัณฑ์ที่กล่าวมานี้ก็นับว่าคุ้ม
มากๆเนื่องจากได้ชมงานครบทุกยุคสมัยเท่าที่ประวัติศาสตร์โลกจะบันทึกไว้ โดย
เฉพาะที่ LACMA นั้นมีงานศิลปะตั้งแต่ยุคเมโสโปเตเมียไล่เรียงตามเส้นเวลามาถึง
ศิลปะสมัยใหม่และศิลปะร่วมสมัยในยุคนี้เลยทีเดียว มุมมองด้านมิติสภาพที่
หลากหลายวิวัฒนาการของสังคมในโลกใบนี้บ่งบอกได้ในงานศิลปะแต่ละชนิดแต่
ละยุคสมัยในพิพิธภัณฑ์ระดับโลก สำหรับใน LA นั้นผมประทับใจมากเลยครับ
เพราะเป็นครั้งแรกในชีวิตที่ได้เห็นงานของศิลปินระดับโลก เช่น แรมบรัน แวนโก๊ะ
ปิซาโร่ เดอร์การ์ โมเน่ โมดิกลิอานี่ ร๊อชโก้ มงเดรียน ปิกัสโซ่  ผมออกเดินทาง
ด้วยเงินเพียง700 ดอลล่าร์ ระยะเวลาเพียงแค่1สัปดาห์ที่ใช้ชีวิตที่นั่นเงินผมก็หมด
ลงอย่างรวดเร็วด้วยค่าครองชีพที่สูง จึงต้องหาวิธีเอาชีวิตรอดโดยขอทำงานกับที่
ร้านอาหารไทยของป้าที่ซานดิเอโก เพื่อเก็บเงินที่จะเดินทางต่อไปที่เมืองซาน
ฟรานซิสโกและเมืองซาคราเมนโต้ตามคำเชิญชวนของเพื่อนอีกคนนึงของผม
ซึ่งเป็นคนไทย
 

IMG_4313-cr

 

ที่ซานฟรานซิสโกอากาศเย็นสบายทั้งที่เป็นช่วงหน้าร้อน ผมได้ไปเยือน
De Young Museum ช่วงนั้นมีงานแสดงผลงานของ J.M.W.Tuner รวบรวม
ผลงานที่เขาสร้างสรรค์ระยะเวลา16ปี มาให้ชม จัดหมวดหมู่ผลงานแต่ละช่วงเวลา
ของการสร้างสรรค์อย่างชัดเจนและน่าสนใจ มีหลายชิ้นงานทั้งที่เคยพบเห็นและ
ไม่เคยเห็นมาก่อนจากในหนังสือ และที่นี่ทำให้ผมได้พบกับงานของชนเผ่า
อนารยชนจากทวีปแอฟริกา(Primitive Art) ทรงพลังงดงามและน่าทึ่งมากๆ คาด
ไม่ถึงมาก่อนว่าชาวอนารยชนจะมีอัฉริยภาพทางทัศนศิลป์ได้ขนาดนั้น และได้เดิน
ดูศิลปะสมัยใหม่อีกมากมายที่นี่ถือว่าเป็นมิวเซียมที่ใหญ่มากที่หนึ่ง
 

IMG_4094-cr

 

ครั้งนั้นผมพลาดมากที่ไม่ได้ชมงานที่MoMA SF เนื่องจากปิดปรับปรุง เป้าหมาย
จึงเปลี่ยนไปดูแหล่งกำเนิดของค่ายภาพยนต์การ์ตูนที่ยิ่งใหญ่อย่างWalt Disney
ที่ The Walt Disney Family Museum ซึ่งขณะนั้นมีงานของนิทรรศการของ
Salvador Dali คู่กับ Walt Disney แสดงความสัมพันธ์ทางความคิดสร้างสรรค์และ
ความสำเร็จของทั้งคู่ที่เคยทำงานร่วมกัน ด้วยความสามารถในเส้นทางของเพื่อนๆ
ผมจึงได้เที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญหลายแห่งในซานฟรานซิสโก และข้ามไป
ชมเมืองเก่าอย่างเมืองซาคราเมนโต้อันเป็นเมืองหลวงของแคลิฟอร์เนียและเลยไป
ชื่นชมธรรมชาติที่ทะเลสาป Lake Tahoe ผมรู้สึกประทับใจและขอบคุณพวกเขา
มากๆในเรื่องที่พักและน้ำใจหลายๆด้านของพวกเขา ระหว่างทางผมได้บันทึก
ความประทับใจเป็นภาพวาดลายเส้นและจดบันทึกไอเดียใหม่ๆได้มากมาย ผมใช้
เวลาที่ซานฟรานซิสโก2วันและซาคราแมนโต้อีก3วันจากนั้นก็กลับมาพักและ
ทำงานต่อที่ซานดิเอโก้ได้สักระยะนึง ก็ได้เดินทางไปนิวยอร์กโดยการสนับสนุน
ของผู้ใหญ่ใจดีท่านหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นโชคดีของผมที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน
 

004-cr

 

ในนิวยอร์กผมเห็นความหลากหลายทางเชื้อชาติ สังคม วัฒนธรรม คนจำนวนมาก
แทบทุกที่ในโลกใบนี้เข้ามาอยู่รวมกันที่นี่ในเมืองแห่งมหาอำนาจของโลกแห่งนี้
หลากหลายมากกว่าที่ซานฟรานซิสโกและแอลเอที่เคยพบมาเสียอีก นิวยอร์คเป็น
ศูนย์รวมที่สุดของโลกรวมไปถึงในเรื่องศิลปะด้วย โดยภาพรวมแล้วเมื่อการเมือง
การปกครองของโลกได้ย้ายฐานอำนาจความเจริญทางเศษฐกิจ สังคม มาอยู่ที่
สหรัฐอเมริกา ศิลปะก็ย้ายมาเช่นกัน ศิลปินเก่งๆระดับโลกจำนวนมากย้ายเข้ามา
แสวงหาความสำเร็จที่นี่ตั้งแต่ปลายคริสศตวรรษที่19-20 เกิดแนวทางใหม่ๆแก่
วงการศิลปะบนโลกใบนี้มากมายซึ่งเป็นการปฏิวัติวงการศิลปะสมัยใหม่(Modern
Art)ที่ยิ่งใหญ่มาก จวบจนศตวรรษที่21ถึงปัจจุบันศิลปะร่วมสมัย(Contemporary
Art)ก็ยังเคลื่อนที่ไม่หยุด ศิลปินสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา ด้วยความเป็น
มหาอำนาจของอเมริกาจึงจะเห็นได้ว่ามีผลงานศิลปะทุกยุคทุกสมัยทุกประเทศบน
โลกใบนี้เก็บรวบรวมไว้ที่นี่มากมายมหาศาล ดังเช่นจะเห็นได้ในพิพิธภัณฑ์ The
Metropolitan Museum of Art ซึ่งลำพังเวลาที่มีอยู่แค่วันสองวันนั้นไม่มีทาง
เป็นไปได้แน่นอนที่จะดูได้ครบทุกอย่าง และที่ MoMA New York Museum ผม
ได้พบกับงานศิลปะที่อยู่ในประวัติศาสตร์ของโลกมากมายรวมทั้งศิลปะร่วมสมัยที่ดี
ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกแสดงอยู่ที่นี่ ซึ่งในนั้นมีผลงานของศิลปินไทยสองท่าน คือ
คุณฤกษ์ฤทธิ์  ตีระวนิช และ คุณกรกฤต อรุณานนท์ชัย
 

นิวยอร์กเป็นดินแดนที่คนมาตามหาความฝัน ทุกคนทำงานหนักและจริงจังมาก
เวลามีค่ามากๆสำหรับพวกเขา ผมเห็นคนร้องเพลงและแสดงความสามารถต่างๆใน
สถานีรถไฟใต้ดิน ตามรายทางมีคนเก่งมากมายพวกเขาทำตามความฝัน ผมได้พบ
รุ่นพี่ของผมคนนึงที่จบมาจากสถาบันเดียวกันจากเมืองไทยมาใช้ชีวิตอยู่ในใน
นิวยอร์ค ชื่อพี่ไพโรจน์ พิเชฐเมธากุล เป็นคนมีน้ำใจวาดรูปเพื่อช่วยคนไร้บ้านใน
นิวยอร์ก ทำงานหนักเพื่อนำเงินมาทำในสิ่งที่ตนเองรักและช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
ด้วยกัน ซึ่งสิ่งที่เขาทำนั้นมันทำให้คนรอบข้างรวมทั้งผมประทับใจมาก
 

ไม่ว่าจะไปที่ไหนก็ตามถ้าคุณมีเพื่อนที่ดีแล้วคุณก็จะสามารถเดินทางไปได้ทั่วโลก
แต่นั่นหมายความว่าเราต้องเป็นเพื่อนที่ดีกับคนเหล่านั้นด้วยความจริงใจ มันไม่ใช่
เป็นแค่การแลกเปลี่ยน หากแต่มีความงดงามในน้ำใจที่มาจากความจริงใจของแต่
ละฝ่ายนั้นย่อมปรากฏตัวและทำงานตามกลไกลโดยธรรมชาติของมันเอง
สหรัฐอเมริกานั้นกว้างเกินกว่าที่ความสามารถของผมจะเดินทางไปให้ทั่วดังใจ
ปราถนาภายในเวลาที่จำกัด ซึ่งผมก็ขอเล่าให้รับทราบได้เพียงเท่านี้เพราะ
ประสบการณ์ที่ผมพบเจอมานั้นไม่อาจสัมผัสได้ด้วยการบอกเล่า จึงอยากเป็น
กำลังใจให้ผู้อ่าน ถ้าหากมีแรงบันดาลใจถ้าคิดจะทำอะไรก็ทำเลย หรือคิดจะออก
เดินทางก็ให้เริ่มเลยตั้งแต่ตอนนี้ เพราะการทิ้งความฝันตัวเองมันเป็นวิธีที่ง่าย
เกินไป
 

003-cr

 

จานีน: ในฐานะที่คุณเป็นศิลปินเดี่ยว คุณคิดเห็นอย่างไรกับการรวมกลุ่มของศิลปิน
เช่นจังหวัดเชียงรายเมืองศิลปิน และการรวมกลุ่มของศิลปินภาคใต้ตอนล่าง
 

นพนันท์: อันที่จริงศิลปินเดี่ยวก็ไม่ได้โดดเดี่ยวนะครับ ผมเองก็เกิดที่เชียงรายพี่
น้องคนทำงานศิลปะที่นั่นก็มีน้ำใจและมักเชิญชวนร่วมกิจกรรมกับกลุ่มศิลปิน
เชียงรายเป็นระยะๆ ซึ่งโดยความจริงแล้วการที่จะเป็นเมืองศิลปะอย่างเป็นทางการ
หรือไม่นั้น ผมรู้สึกว่าเชียงรายก็เป็นเมืองศิลปินโดยตัวของมันอยู่แล้ว แต่หาก
แต่งตั้งอย่างเป็นทางการก็อาจจะทำให้ได้รับการสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางด้าน
ศิลปะต่างๆสามารถเป็นไปได้สะดวกขึ้นครับ โดยความคิดเห็นของผมแล้วการ
รวมตัวของศิลปินไม่ว่าจะเป็นที่ไหนก็แล้วแต่ เป็นสิ่งที่ดีอยู่แล้วครับ เพราะการต่อสูู้้

โดยลำพังนั้นเป็นสิ่งที่ยากลำบากมากสำหรับนักศึกษาศิลปะและศิลปินที่ยังไม่มี
ชื่อเสียงหรือกำลังสร้างผลงานให้ประจักษ์ การรวมกลุ่มก็ถือเป็นการเกื้อกูลให้
โอกาสที่จะทำให้ผลงานของสมาชิกผู้ร่วมอาชีพศิลปินในท้องถิ่นไปสู่จุดมุ่งหมาย
ที่ควรจะเป็นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ข้อดีอีกข้อหนึ่งที่เห็นคือในท้องถิ่น
ชนบทเช่นเชียงรายนั้นมีความหลากหลายเรื่องสายงานศิลปะ จะมีตั้งแต่ช่างศิลปะ
พื้นบ้าน (Folk Art) ศิลปินที่สืบสานแบบไทยประเพณี (Traditional Thai Art)
ศิลปินที่ทำงานศิลปะแนวไทยประเพณี (Semi-Traditional Thai Art) ศิลปินแบบ
ไทยร่วมสมัยไปจนถึงศิลปินร่วมสมัยอันไม่จำกัดขอบเขตการเรียนรู้
(Contemporary Art) ถือว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจและควรสนับสนุนครับ
 

จานีน: คุณอยากจะให้ข้อคิดอะไรกับศิลปินรุ่นใหม่ในอนาคตของประเทศไทย
 

นพนันท์: ผมอยากให้ผู้อ่านเข้าใจว่านี่เป็นการแสดงความคิดเห็นจากประสบการณ์
ของศิลปินรุ่นใหม่คนหนึ่งนะครับ สิ่งที่ผมคิดว่าควรมีสำหรับการทำงานศิลปะคือ มี
แรงบันดาลใจถ้าไม่มีก็ออกไปหามัน เรียนรู้รับฟังองค์ความรู้อื่นๆที่ไม่ใช่เรื่องศิลปะ
ไว้ด้วย อ่านหนังสือเรื่องที่เราสนใจหรือออกเดินทาง มีความรักในสิ่งที่ทำ มีวินัย
มีกัลยาณมิตร ใช้ชีวิตให้คุ้มค่ากับเวลาที่มี อีกอย่างที่สำคัญคือดูแลสุขภาพด้วย
 

การที่จะตระหนักรู้ถึงแก่นสารและสาระสำคัญของศิลปะนั้นต้องวัดกันทั้งชีวิต ผม
คิดว่าลำพังความสำเร็จเพียงครู่ชั่วยามในระยะสั้นๆตามหลักสูตรการเรียนการสอน
เพียงแค่ 5-10 ปี หรือการได้รับการยกย่องโดยรางวัลนั้นย่อมไม่เพียงพอ ซึ่งรางวัล
ที่มีคุณค่ามากๆอาจไม่ได้อยู่ที่เวทีใหญ่ที่สังคมมอบให้ก็ได้ แต่อาจเป็นรอยยิ้ม
เล็กๆจากใครสักคนที่เห็นคุณค่าในความงามในผลงานของเรา ผมเชื่อว่า
ความสำเร็จในการทำงานศิลปะต้องเริ่มมาจากตัวเราเองก่อน แรงบันดาลใจของ
จริงต้องสร้างมาจากขุมพลังในตัวเรา และในขณะเดียวกันเราก็สามารถเรียนรู้
ต่อไปได้ไม่รู้จบตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่ อย่าหยุดฝัน แล้วลงมือทำซะ
 

ศิลปะนั้นเข้าใจได้ไม่ยากอย่างที่คิด เพียงแต่ว่าคุณอย่ามองศิลปะมันเป็นเพียงแค่
วัตถุสวยงามที่ตกแต่งประดับประดาเพียงแค่นั้น ดังนั้นเราควรมองที่กระบวนการ
ก่อนที่ผลงานชิ้นนั้นๆจะเกิดขึ้น ในที่นี้ผมอยากให้แยกให้ออกว่าตัววัตถุกับความ
เป็นศิลปะนั้นมีเหตุปัจจัยที่จะมารวมได้อย่างไร? ศิลปินคิดอะไร? ทำอย่างไร?
ศิลปินมีความจริงใจในการสร้างสรรค์มากน้อยเพียงใด? ผลงานนั้นตอบโต้กับตัวคุณเองได้มากน้อยเพียงไร?
 

การหัดตั้งคำถามเหล่านี้กับการดูงานศิลปะจะทำให้มุมมองของคุณมีหลากหลาย
มิติมากขึ้น ถึงแม้ว่าเราแต่ละคนจะมีรสนิยมส่วนตัว แต่ก็จะทำให้มีมุมมอง
หลากหลาย และใจกว้างพร้อมที่จะเรียนรู้และสนุกกับศิลปะในรูปแบบอื่นๆที่ไม่เคย
สัมผัสได้ ซึ่งถ้าคุณมีพัฒนาการในการมองความงามของศิลปะมากขึ้นแล้ว จะเห็น
ได้ว่าศิลปะจะปรากฏอยู่แบบจะทุกที่ ศิลปะที่ไม่จำกัดแค่ว่าเป็นวัตถุศิลป์อย่างที่
เคยคุ้นชิน แต่ศิลปะจะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคุณ และคุณจะดำเนินชีวิตได้อย่าง
มีความสุข คุณจะเห็นหัวใจตัวเองยิ้มเมื่อเห็นความงามในที่ต่างๆแม้กระทั่งในที่ๆ
เคยมองข้ามมันไป โดยเริ่มจากการมองเห็นความงามในตัวคุณเองก่อนจึงจะเห็น
ความงามในผู้อื่น เห็นความงามในรูปแบบของน้ำใจ ความงามในเพื่อนมนุษย์ แม้
กระทั้งความคิดสร้างสรรค์ของกลุ่มคนที่ชีวิตลำบากกว่าคุณในการเอาชีวิตรอดนั่นก็
ถือได้ว่าเป็นความงามที่น่าสนใจ
 

จะเห็นได้ว่าขอบเขตการสัมผัสความงามนั้นกว้างกว่าความเป็นศิลปะวัตถุ ศิลปะนั้น
อาจจะประจุในที่ที่เราไม่เคยคาดคิดมาก่อน หรือว่าแท้จริงแล้วศิลปะก็อยู่ตรงกลาง
ใจเรานี่เองหากเห็นแบบนี้ได้คุณไม่จำเป็นต้องวาดรูปเป็นก็ได้และนับได้ว่าคุณ
เป็นผู้มีมีศิลปะในหัวใจและไม่ว่าศิลปะนั้นๆจะมีจุดเริ่มต้นมาจากความโหดร้ายแค่
สักแค่ไหนก็ตามมันมักจะมีกลวิธีการสื่อสารและผ่านกระบวนการที่งดงามเสมอผมว่านี ่แหละคือความมหัศจรรย์ของศิลปะ

 

mural

กรุณาลงความเห็น เกี่ยวกับบทความนี้

Scene4 Magazine: Janine Yasovant

ส่ง
อีเมล์
หน้านี้

จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย
สำหรับบทความและบทวิจารณ์อื่นๆ ของ จานีน ยโสวันต์
กรุณาตรวจดู แฟ้มเก็บข้อมูล

Click Here for this article in English

©2016 Janine Yasovant
©2016 Publication Scene4 Magazine

 

 

Sc4-solo--logo62h

October 2016

Volume 17 Issue 5

SECTIONS:: Cover | This Issue | inView | inFocus | inSight | Perspectives | Special Issues | Blogs COLUMNS:: Bettencourt | Meiselman | Thomas | Jones | Marcott | Walsh | Alenier | :::::::::::: INFORMATION:: Masthead | Subscribe | Submissions | Recent Issues | Your Support | Books CONNECTIONS:: Contact Us | Contacts&Links | Comments | Advertising | Privacy Terms | Archives

Search This Issue

|

Search The Archives

|

Share:

Email

fb  


Scene4 (ISSN 1932-3603), published monthly by Scene4 Magazine–International Magazine of Arts and Media. Copyright © 2000-2016 Aviar-Dka Ltd – Aviar Media Llc. All rights reserved. Now in our 17th year of publication with Worldwide Readership in 141 countries and comprehensive archives of over 9000 web pages (36,000 print pages).
 

Time-0716
Scientific American - www.scene4.com
Penguin Books-USA www.scene4.com
Character Flaws by Les Marcott at www.aviarpress.com
Thai Airways at Scene4 Magazine
HollywoodRed-1